รูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการการเรียนรู้แนวใหม่ของครู โรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปกรณรัตน์ สุวรรณนภาศรี
ภารดี อนันต์นาวี
พงษ์เทพ จิระโร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการการเรียนรู้แนวใหม่ของครูโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร 2) สร้างและประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ทดลองใช้และประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 450 คน และศึกษาแนวทางสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและประเมินโดยใช้แบบประเมิน  ขั้นตอนที่ 2 สร้างและประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน โดยใช้แบบประเมิน และขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้และประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบจากผู้บริหารและครู จำนวน 44 คน โดยใช้แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการการเรียนรู้แนวใหม่ของครูโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน  ดังนี้ 1. ด้านการสื่อสารและการสร้างแรงจูงใจ 2. ด้านการทำงานเป็นทีม 3. ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ 4. ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและสารสนเทศ 5. ด้านการบริการที่ดี 6. ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) รูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบหลักที่ 1 คือ สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการการเรียนรู้แนวใหม่  ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบย่อยที่ 1 สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา มี 6 ด้าน ได้แก่ 1.1 ด้านการสื่อสารและการสร้างแรงจูงใจ 1.2 ด้านการทำงานเป็นทีม 1.3 ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ 1.4 ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและสารสนเทศ
1.5 ด้านการบริการที่ดี 1.6 ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบย่อยที่ 2 การจัดการเรียนรู้แนวใหม่มี 7 ด้าน ได้แก่ 2.1 ด้านเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2.2 ด้านสร้างทักษะคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ 2.3 ด้านบูรณาการความรู้และการลงมือปฏิบัติ 2.4 ด้านครูเปลี่ยนบทบาท 2.5 ด้านสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียน 2.6 ด้านทำงานเป็นทีม 2.7 ด้านใช้สื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ โดยขับเคลื่อนด้วยองค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการจัดการ มี 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การจัดองค์การ การนำ และ การควบคุม โดยภาพรวม พบว่ามีความถูกต้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การทดลองใช้และประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม พบว่า มีความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทื้อน ทองแก้ว.(2550). สมรรถนะ (Competency) : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

นริศ มหาพรหมวัน.(2561).รูปแบบสมรรถนะผู้นำโรงเรียนเอกชนสู่มาตรฐานสากล (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ภิชาพัชญ์ โหนา.(2562).รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ระพีพัฒน์ หาญโสภา และคณะ. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนร่มโพธิ์ทองธรรมวิทย์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ,5(11),18-31.

สุประวีณ์ ทิพย์โพธิ์ และคณะ.(2563). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 56-70.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://opec.go.th/wp-content/uploads/2021/09/3-1.pdf

อนุสิทธิ์ นามโยธา. (2555).การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Bateman, S. T., & Snell, A. S. (2009). Management: Leading & Collaborating in a competitive world (8th ed.). Boston, MA: McGraw Hill.

Daft, R.L. (2006).The New Era of Management. International Edition. Ohio: Thompson.

Drucker, P.F. (2005). The Effective Executive: The Definitive Guide to Getting the Right Things Done (Harper business Essentials). New York: Harper Business.

Krejcie, Robert V. and Daryle, W. Morgan (1970). Determining Size for Research Activities, Education Psychological Measurement, 30(3), 608-610.

Schermerhorn, J.R. et al. (2011). Management. 11thed. New York: John wiley & Sons.