เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • ยินยอมว่าบทความนี้เป็นของลิขสิทธิ์ของวารสารพุทธจิตวิทยา
  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ)

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน     

       บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

       ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร  ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร  รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง  ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 20% ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

        วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจำนวน 6,000 บาท (หกพันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ  เก็บเมื่อตอบรับการตีพิมพ์ (Accept) โดยผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ ดังต่อไปนี้ 1. หากบทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 20% 2. ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสาร 3. บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ 4. ไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามระยะเวลาที่กำหนด (1 เดือน หลังการแจ้งของบรรณาธิการ) ผู้เขียนสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านบัญชี ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) หมายเลขบัญชี 231-2-414 58-0 ชื่อบัญชี "นายเผื่อน เฉลิมจาน" เมื่อชำระแล้วให้ส่งหลักฐานเข้าระบบวารสารพร้อมบทความ และให้ส่งหลักฐานไปที่ [email protected] เพื่อแจ้งรายละเอียดการส่งบทความ

การส่งบทความเข้าระบบออนไลน์ของวารสาร เพื่อได้รับการตีพิมพ์

         การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้เว็บไซต์ ของวารสาร ได้ที่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp

เข้าสู่ระบบ  หรือ  สมัครสมาชิก

การจัดเตรียมต้นฉบับ

          1) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาว 10 - 15 หน้ากระดาษ  A4  (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียวใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนาเช่นตาราง 1 หรือ Table 1 และ รูป 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

          2) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง

          3) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุชื่อต้นสังกัด หรือชื่อหน่วยงาน 

          4) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำต่อบทคัดย่อ

          5) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 - 5 คำ)

          6) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจาก หัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 6 และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ ควรเว้นระยะพิมพ์ เพิ่มอีก 0.5 ช่วงบรรทัด

          7) การใช้ตัวเลขคำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็น สากลเท่านั้น(ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centred learning) 

บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ

2) บทนำ  

3) วัตถุประสงค์การวิจัย

4) สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)

5) การทบทวนวรรณกรรม เขียนควรอธิบายถึงผลการสืบค้นเอกสาร บทความ การวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงให้เห็นถึง “ช่องว่างของความรู้” (knowledge gap) ที่ยังไม่ถูกพิจารณา

6) กรอบแนวคิดการวิจัย

7) ระเบียบวิธีวิจัย ระบุแบบแผนการวิจัย การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

8) ผลการวิจัย/ผลการทดลอง  เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ

9) อภิปรายผล/วิจารณ์  เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

10) องค์ความรู้ใหม่ ระบุองค์ความรู้ที่ได้อันเป็นผลมาจากการวิจัย ผ่านการสังเคราะห์ ออกมาในรูปแบบของ แผนภูมิ แผนภาพ หรือ ผังมโนทัศน์ พร้อมทั้งการอธิบายที่รัดกุม เข้าใจได้ง่าย  

11) สรุป  ระบุข้อสรุปที่สำคัญ

12) ข้อเสนอแนะ

       (1) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

       (2) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

13) เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงไว้ ทั้งในเนื้อเรื่องและเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

บทความพิเศษ บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ ปกิณกะ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract)

2) บทนำ (Introduction)

3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ

4) องค์ความรู้จากการศึกษา (Knowledge)

ระบุองค์ความรู้อันเป็นผลมาจากการนำเสนอ การสังเคราะห์ออกมาในลักษณะ แผนภาพ แผนภูมิ หรือผังมโนทัศน์ พร้อมคำอธิบายรูปแบบ/โครงสร้างอย่างกระชับ เข้าใจง่าย

5) บทสรุป (Conclusion)

5) เอกสารอ้างอิง (References)

ระบบการอ้างอิง

เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด ก่อนส่งต้นฉบับผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้องของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่การอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง สำหรับการอ้างอิงเอกสารในบทความนั้น ใช้ระบบ American Psychological Association (APA) 6th edition ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุล ของผู้เขียนและเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง กำกับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้ 

อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย 

1) ผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างชื่อผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์  เช่น (พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, 2554) 

2) ผู้แต่ง 1 -3 รายให้อ้างชื่อของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และ เขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2553) หากมีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างรายการอ้างอิง เช่น (สมภาร พรมทา, 2548; ธนิต อยู่โพธิ์, 2550) 

3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 3 รายให้อ้างชื่อของผู้แต่งรายแรก เว้นวรรคหนึ่งครั้ง เพิ่มคำว่า และคณะ  เช่น (สนิท ศรีดำแดงและคณะ, 2548)  

4) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงตามลำดับพยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เช่นเดียวกับลำดับการอ้างอิงในส่วนเอกสารอ้างอิง 

อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ 

1) ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์  เช่น (Keown, 2003) 

2) ถ้ามีผู้แต่งสองรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ เช่น (Hersey & Blanchard, 2000) และให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นกลางระหว่างเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 เอกสาร เช่น (Keown, 2003; Hersey & Blanchard, 2000)  

3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรก ตามด้วย et al., ปีที่พิมพ์  (Kaiser et al., 2008) 

4) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงชื่อผู้แต่ง

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิมพ์

รายการสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์  กรณีเป็นสำนักพิมพ์หรือบริษัทให้คงไว้เฉพาะชื่อ ดังตัวอย่าง

1) บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด  ใช้ 21 เซ็นจูรี่

2) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ใช้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3) กรณีที่เป็นโรงพิมพ์ให้ใช้รูปแบบเต็ม เช่น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เอกสารอ้างอิง

(1) พระไตรปิฎก อรรถกถา

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539).  พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

(2) หนังสือ

รูปแบบ : ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ. /(ครั้งที่พิมพ์). /สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์

ตัวอย่าง : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2554).  พุทธสันติวิธี : การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

(3) บทความในหนังสือ 

รูปแบบ : ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ. //ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ).//ชื่อเรื่อง,/(เลขหน้าที่อ้าง).//สถานที่พิมพ์/: /สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์. ตัวอย่าง : พระสมชาย  ปโยโค (ดำเนิน).  (2554).  การประยุกต์ใช้สัมมาวาจาเพื่อการบริหารงานของผู้นำ.  ใน พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (บรรณาธิการ). พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ.  (หน้า 10-12).  กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

(4) บทความจากวารสาร

รูปแบบ : ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่ /(ฉบับที่), /เลขหน้าแรกที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์. 

ตัวอย่าง :

อรชร ไกรจักร. (2560). พุทธวิธีสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 1(2), 75-86.

กัญญาวีร์ มหาสนิท. (2562). การเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดเพื่อตัดสินใจเข้าศึกษาในโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (สช.). วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 1-10.

Mogkaew, P. (2019). Construction of Dhammanamai Principles in Treatment of Thai Traditional Medicine of Prongmadaue Community, Muang District, Nakhonpathom Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 2(3), 45-58.

(5) บทความในสารานุกรม รูปแบบ : ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน ชื่อสารานุกรม,/(เล่มที่อ้าง,หน้า เลขหน้าที่อ้าง). สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.  ตัวอย่าง : สนม ครุฑเมือง. (2530). หม้อคอควาย. ใน สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีตเขตหัวเมืองฝ่ายเหนือ, (หน้า 274-275). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

McNeil, D. W. et al., (1994). Anxiety and fear. In Encyclopedia of human behavior. (Vol.1, pp. 151-163). San Diego: Academic Press. 

(6) หนังสือพิมพ์

รูปแบบ : ผู้แต่ง./(วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า. 

ตัวอย่าง : ทวี มีเงิน.  (26 สิงหาคม 2556).  โกงแวต 4 พันล้าน. ข่าวสด, 8. 

(7) วิทยานิพนธ์  รายงานการวิจัย 

รูปแบบ : ชื่อผู้เขียน./(ปีพิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์/(ระดับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/หรือการค้นคว้าแบบอิสระ). ชื่อมหาวิทยาลัย. 

ตัวอย่าง: 

สุนันทา ภักดีไทย.  (2561). องค์ประกอบ ตัวชี้วัด และปัจจัยเชิงสาเหตุของความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Kittichayathorn, P. (2012). Styles and Steps of Community Management Movement for Drug Problem Prevention Learning Center: A Case of Thorraneekum, KhokFaet, Nong Chok, Bangkok(Doctoral Dissertation). National Institute of Development Administration.

Marpue, S. (2013). Use mindfulness to Apply to Solve Doing work Employees of Electricity Generating Authority of Thailand(Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Wathanapradith, K., & Soma, P. (2016). Peace Village in the 26th Buddhist Century: Knowledge Learned from Ta Koy Nang Village Sisaket Province(Research Report). Ayuthaya: Buddhist Research Institute of MCU.

(8) สัมภาษณ์ ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาณ์./(ปี)./ตำแหน่ง./สัมภาษณ์, วัน เดือน. 

ตัวอย่าง : พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ศ.ดร. (2558). อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สัมภาษณ์, 18 เมษายน. 

(9) สื่อออนไลน์ 

รูปแบบ : ผู้แต่ง.//(วันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อบทความ.//สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี,/จาก แหล่งที่อยู่ไฟล์ (URL) 

ตัวอย่าง : พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญโญ).  (1 พฤษภาคม 2555).  การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในอุษาอาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ.  สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2556, จาก https://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc. php?Article_id=1304 & articlegroup_id=274

Doyle, M. W. (22 June 2004).  Liberal Internationalism: Peace, War and Democracy. Retrieved September 2, 2013, from https://www. Nobelprize.org/nobel_prizes/ themes/peace/doyle/index.html

ตัวอย่างเอกสารอ้างอิง

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.  (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

พยอม วงศ์สารศรี.  (2530).  การบริหารงานบุคคล.  กรุงเทพฯ: พระนครพาณิชย์.

พลศักดิ์  จิรไกรศิริ.  (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: เทคนิคแผนที่นำทางการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฉัตรชัย นาถ่ำพลอย. (2562). การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสังคมปัจจุบัน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 3(3), 171-178

สุนันทา ภักดีไทย.  (2561). องค์ประกอบ ตัวชี้วัด และปัจจัยเชิงสาเหตุของความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อาภรณ์ รัตน์มณี.  (9 มิถุนายน 2559). ทำไมระบบการศึกษาไทยจึงพัฒนาช้า.  สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561, จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/448

Cronbach, L. J.  (1974). Essentials of Psychological Testing.  (3rd ed.).  New York: Harper and Row.

Kittichayathorn, P. (2012). Styles and Steps of Community Management Movement for Drug Problem Prevention Learning Center: A Case of Thorraneekum, KhokFaet, Nong Chok, Bangkok(Doctoral Dissertation). National Institute of Development Administration.

Marpue, S. (2013). Use mindfulness to apply to solve doing work Employees of Electricity Generating Authority of Thailand(Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Nanposri, N. (2020). Factors Affecting Employee Savings Decision in Central Bangna Department Store, Bangkok. Journal of Educational Innovation and Research, 3(2), 131-140.

Schermerhorn, J., Hunt, J., and Osborn, R.  (2000). Organizational Behavior.  (7th ed.).  New York: John Wiley & Sons.

Wathanapradith, K., & Soma, P. (2016). Peace Village in the 26th Buddhist Century: Knowledge Learned from Ta Koy Nang Village Sisaket Province(Research Report). Ayuthaya: Buddhist Research Institute of MCU.

Yamane, T.  (1973). Statistic: An Introductory Analysis.  (3rd ed.). New York: Harper and Row.

รูปแบบการนำบทความลงตีพิมพ์ลงในวารสาร 

          ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร *.docx ของ Microsoft Word Version 2016 หรือมากกว่า หากต้นฉบับประกอบด้วยภาพ ตาราง หรือสมการ ให้ส่งแยกจากไฟล์เอกสาร ในรูปแบบไฟล์ภาพ สกุล *.PDF*.JPG*.GIF หรือ *.bmp ความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน 15 หน้า (รวมบทคัดย่อ ภาพ ตารางและเอกสารอ้างอิง) กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิเมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไข จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ โดยการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ได้จะคำนึงถึงความหลากหลายและความเหมาะสม

สิทธิของบรรณาธิการ

          ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่ตรงกับแนวทางของวารสาร หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับวารสาร ลิ้งค์ฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์ พร้อมกับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสาร