การพัฒนาทักษะอาชีพด้านธุรกิจออนไลน์ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย เพื่อเข้าสู่ตลาดประชาคมอาเซียน

Main Article Content

กิตติ สุทธิจิระพันธ์
นาวิน พรมใจสา
วิกรม บุญนุ่น
โกมินทร์ วังอ่อน

บทคัดย่อ

               


          การวิจัยนี้มุ่งศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการในการพัฒนาทักษะอาชีพ และสร้างแนวทางการพัฒนาทักษะอาชีพด้านธุรกิจออนไลน์ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงรายเพื่อเข้าสู่ตลาดประชาคมอาเซียน เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 102 คน และเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากหน่วยงานจำนวน 10 คน


          ผลการวิจัยพบว่าปัญหาด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ การจัดการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาอยู่ในระดับน้อยที่สุด ความต้องการในการพัฒนาทักษะอาชีพด้านธุรกิจออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อนำปัญหาและความต้องการมาจัดทำแนวทางในการพัฒนาทักษะอาชีพด้านธุรกิจออนไลน์ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงรายเพื่อเข้าสู่ตลาดประชาคมอาเซียน จะอยู่ในรูปแบบ รุก รับ ปรับตัว และถอนตัว แนวทางดังกล่าวนำมาสู่การพัฒนาทักษะอาชีพด้านธุรกิจออนไลน์ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงรายเพื่อเข้าสู่ตลาดประชาคม ผ่านการพัฒนาทักษะ 8 กิจกรรมย่อย โดยได้พบว่า มีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้อีกทั้งมีการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและวิธีการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม นักเรียนและคณะครูสามารถนำไปต่อยอดเป็นผู้ผลิดและขายจริง และมีข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะอาชีพด้านธุรกิจออนไลน์ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย ดังนี้
1)ควรสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะด้านวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 2)ควรมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นอัตลักษณ์ในท้องถิ่นของตนเอง รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มธุรกิจออนไลน์ 3)ควรส่งเสริมองค์ความรู้ที่เน้นการบริหารจัดการงบประมาณในด้านธุรกิจออนไลน์ 4)พัฒนาชุมชนหรือหน่วยงานพัฒนาสังคมควรเน้นแนวทางการส่งเสริมให้ใช้ “เอกลักษณ์” ของชาติพันธุ์และเน้นใช้ทุน“วัตถุดิบ” ที่หลากหลายและหาได้ง่ายในชุมชนเป็นจุดขาย

Article Details

How to Cite
[1]
สุทธิจิระพันธ์ ก., พรมใจสา น., บุญนุ่น ว., และ วังอ่อน โ., “การพัฒนาทักษะอาชีพด้านธุรกิจออนไลน์ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย เพื่อเข้าสู่ตลาดประชาคมอาเซียน”, ้่j of human, ปี 12, ฉบับที่ 2, น. 133–151, ธ.ค. 2022.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กนกพร ภาคีฉาย และ เขตต์ เลิศวิวัฒนพงษ์. (2561). แนวทางการพัฒนาธุรกิจข้าวอินทรีย์เพื่อรองรับการเข้าร่วมประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของโครงการ “ผูกปิ่นโตข้าว”.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ,ปีที่ 3 ฉบับที่ 1. หน้าที่ 42 - 54

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2555). ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน : การจัดการศึกษาบนบริบทแห่งความท้าทาย.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 3. หน้าที่ 108 - 117

ดิษยุทธ์ บัวจูมและคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างความสนใจและทักษะ ในอาชีพท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนบ้านพะแนงวิทยา.สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.วารสารพฤติกรรมศาสตร์ปีที่ 20 ฉบับที่ 2. หน้าที่ 1-18.

นงนุช ชุมภูเทพ และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2560). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมอาชีพของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและทุรกันดาร ในเขตภาคเหนือด้านตะวันตก.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรปีที่ 21 ฉบับที่ 4. หน้าที่ 142-153.

ปริญ พิมพ์กลัด. ( 2557). ปัจจัยของนวัตกรรมองค์กรและองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินผู้ให้บริการด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พรรณี มามาตร์และคณะ. (2559). กระบวนการสร้างการคงอยู่ของอัตลักษณ์สําหรับเยาวชนชาติพันธุ์ดาราอั้งในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย.วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1. หน้าที่ 1-12.

ไพรัช วงศ์ยุทธไกร. (2557). การพัฒนาทักษะอาชีพ เรื่องการออกแบบและการหล่อเรซิ่นเพื่อการดำรงชีพและลดปัญหาสังคม.วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1. หน้าที่ 104 – 127.

วรวุธ ลีลานภาศักดิ์, รุจิกาญจน์ สานนท์,และ สุภัทริภา ขันทจร. (2563). การพัฒนาศักยภาพทางการตลาดออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา. Volume 2 Issue 3. หน้าที่ 40-56.

วิชัย ลุนสอน และบุษราภรณ์ พวงปัญญา. (2563). แนวทางส่งเสริมและพัฒนาอาชีพสู่ความยั่งยืนของชุมชนรอบเขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราธานี. มนุษยสังคมสาร. ปีที่ 18 ฉบับที่ 3. หน้าที่ 65-84.

วีรยุทธ ทนทาน. (2555). แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะการทำธุรกิจของผู้ประกอบการการค้าชายแดน ไทย-ลาว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรองรับการบูรณาการประชาคมอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร.ปีที่ 20 ฉบับที่ 2. หน้าที่ 67-77.

ภาสกร เรืองรอง และ พิลาศศิริ เสริมพงษ์.(2563).การใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถม ในสถานการณ์โควิด 19. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์- สังคมศาสตร์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2. หน้าที่ 79-92.

ภวัต ธนสารแสนล้าน. (2558). การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. หน้าที่ 74 ถึง 86

เสน่ห์ เทศนา, ชุมพล เสมาขันธ์ และวีระพงษ์ อินทร์ทอง. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ บูรณาการโดยใช้เกษตรกรรม เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรกรรม สำหรับนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตชนบทภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ปีที่ 12 ฉบับที่ 1. หน้าที่ 145-162.

ไหม คําบุญเรือง. (2556). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู กลุมสาระการเรียนรูการงานอาชีพและเทคโนโลยี ดวยโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะแบบองครวมเกี่ยวกับภูมิปญญาทองถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6.ว.มรม.(มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์)ปีที่ 7 ฉบับที่ 2: พฤษภาคม - สิงหาคม หน้าที่ 131-140.

อุไรวรรณ ใจหาญและขวัญชฎิล พิศาลพงศ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ในการให้บริการสารสนเทศสำหรับนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

ปีที่ 25 ฉบับที่ 49 .หน้าที่ 125-144.

Noe. (1998). Employee Training & Development by Raymond A. Mass Market Paperback.

Samuel H., et al. (2013). Theories of Career Developmen. ThriftBooks.Atlanta