ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย

Main Article Content

สมถวิล เอี่ยมโก๋
เลหล้า ตรีเอกานุกูล
วิกรม บุญนุ่น
โกมินทร์ วังอ่อน

บทคัดย่อ

             


          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสถานการณ์ปัญหาความต้องการและแนวทางในการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนสร้างและนำเสนอยุทธศาสตร์ในการเข้าถึงสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ
ใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศใน ภาคกลาง เหนือ ใต้และอีสานของไทย จำนวนทั้งสิ้น 437 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม จากตัวแทนหน่วยงานที่ทำงานส่งเสริมสิทธิมนุษยชนจำนวน 10 คน


          ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและความต้องการในการเข้าถึงสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศในด้าน 1. การไม่รู้เรื่องสิทธิมนุษยชนของตนเองและผู้อื่น 2.การไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมจากการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพของตนเอง 3. การสมรสและการก่อร่างสร้างครอบครัว 4. ปัญหาในการถือครองทรัพย์สินของตนเองและคู่ชีวิต 5. การถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องจากอัตลักษณ์ทางเพศ แนวทางในการเข้าถึงสิทธิโดยการใช้สื่อ การสร้างความเท่าเทียม การไม่เลือกปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ทางกฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวยให้ LGBTQ เข้าถึงสิทธิของตนเอง         


          ด้านยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย มีข้อเสนอ ดังนี้ 1. พัฒนาระบบและกลไกการส่งเสริมองค์ความรู้และแนวทางการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศโดยขยายความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์  2. ป้องกันและเฝ้าระวังประเด็นสิทธิมนุษยชนของบุคคลผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ 3.คุ้มครองช่วยเหลือผู้มีความหลากหลายทางเพศผู้เสียหายจากการเข้าไม่ถึงสิทธิของตนเอง  4. การใช้กลไกทางกฎหมายที่ครอบคลุมบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศโดยไม่มองเพียงเพศสภาพดั้งเดิม และ 5.การพัฒนาและบริหารข้อมูลสารสนเทศเพื่อเอื้อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนของตนเอง

Article Details

How to Cite
[1]
เอี่ยมโก๋ ส., ตรีเอกานุกูล เ., บุญนุ่น ว., และ วังอ่อน โ., “ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย”, ้่j of human, ปี 12, ฉบับที่ 2, น. 116–132, ธ.ค. 2022.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กนกพร อริยาและคณะ. (2561). ความต้องการพื้นฐานของผู้ชายข้ามเพศในประเทศไทย.

https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/ view/114791.

ออนไลน์. เข้าถึง 1 ตุลาคม 2563.

เทิดเกียรติภณช์ แสงมณีจีรนันเดชา. (2562). ความเสมอภาคของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศต่อการสมรสและรับรองบุตรในประเทศไทย:ในมุมมองของนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางสังคม. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเตอร์เน็ต) วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต.

บุษกร สุริยสาร. (2557). อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย. องค์การแรงงานระหว่างประเทศประจำประเทศไทย กัมพูชา และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.โครงการส่งเสริมสิทธิ ความหลากหลาย และความเท่าเทียมในโลกของการทำงาน.

ไพลิน จินดามณีพร. (2560). แนวทางการจ้างแรงงานสูงอายุในสถานประกอบการ.

http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-

/PDF/8474s/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf

ออนไลน์.เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2563.

พลภัทร เจริญเวียงเวชกิจ. (2562). คุณภาพชีวิตการทำงานของชายรักชายในองค์การเอกชน:สิทธิขั้นพื้นฐาน.วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ.ปีที่1 ฉบับที่1/2562.file:///C:/Users/HP/Downloads/hrodjournal,+Journal+manager,+6pdf. ออนไลน์.เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2563.

สุทธิพงศ์ วรอุไร และศิริสุดา แสนอิว. (2563). ความเท่าเทียมทางด้านโอกาสด้านการทำงานใน หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ. ออนไลน์.วารสารรัชภาคย์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 34 พฤษภาคม - มิถุนายน 2563

file:///C:/Users/HP/Downloads/kanvadee,+% 7B$userGroup7D,+RJP34+- +22+20(2).pdf.เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม.

สุภาพร นิภานนท์. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารและการบริหารประเด็นเพื่อผลักดันนโยบายระบบ

สุขภาพมาตรฐานเดียว.วารสารศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_530703 0493_3089_4653.pdf. ออนไลน์.เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2563.

หนังสือพิมพ์รายวัน ธุรกิจ ข่าวหุ้น. (2565). "LGBTQ+" เฮ! สภายอมรับร่างหลักการพระราชบัญญัติความเท่าเทียมในการสมรส – 4 พรบ.สมรส.ออนไลน์.https://www.kaohoon.com/news/539068. เข้าถึง 21 มิถุนายน 2565.