รูปแบบการจัดการสื่อดิจิทัลการท่องเที่ยวโดยชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ รูปแบบการจัดการสื่อดิจิทัล การท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการสื่อดิจิทัลการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการสื่อดิจิทัลการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบกระบวนการวิจัย และพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้นำและตัวแทนชุมชน บ้านท่าแพ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมทั้งสิ้นจำนวน 40 คน ซึ่งใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์ รูปแบบการจัดการสื่อดิจิทัลการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนบ้านท่าแพ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจ และเปิดรับสื่อออนไลน์เชื่อมต่อโลกโซเชียลผ่านมือถือ และได้สร้าง Facebook Page ท่าแพบ้านเรา ขึ้น
- การพัฒนารูปแบบการจัดการสื่อดิจิทัลการท่องเที่ยวโดยชุมชน รูปแบบจัดการสื่อดิจิทัลการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด การท่องเที่ยวโดยชุมชน อยู่ในระดับดี การประเมินความสอดคล้ององค์ประกอบของแผนรูปแบบการจัดการสื่อดิจิทัลการองเที่ยวโดยชุมชุน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี
- การประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการสื่อดิจิทัลการท่องเที่ยวโดยชุมชนพบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้รูปแบบการจัดการสื่อดิจิทัลการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยภาพรวมประชาชนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการสื่อดิจิทัลการท่องเที่ยวโดยชุมชน อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560– 2564), [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https://mots.go.th/download/article/, [1 สิงหาคม 2564.]
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ขวัญยุพา ศรีสว่าง, อรรถ อารีรอบ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการสื่อสารผ่านแผนที่และสื่อท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
จุฑาวรรณ วรงค์. (2559). การออกแบบสื่ออินเตอร์แอคทีฟ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมไทย กรณีศึกษาวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 2408-2423.
ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2560). สื่อดิจิทัลใหม่... สื่อแห่งอนาคต (ฉบับปรับปรุง). บัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, สถาบัน.
ซี หลี. (2560). การใช้สื่อดิจิทัลของนักท่องเที่ยวชาวจีน กลุ่ม Millennials ที่ตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยในรูปแบบการท่องเที่ยวแบบอิสระ. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ซีหลี่, & ธรรญธรปัญญ โสภณ. (2018, June). การใช้สื่อดิจิทัลของนักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่มมิล เลนเนียลที่ตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยในรูปแบบการท่องเที่ยวแบบอิสระ (Free Independent Traveler, FIT). In รายงานการประชุม Graduate School Conference (Vol. 1, No. 1, pp. 249-258).
ณิศรา ศรีพลอยรุ่ง. (2558). การใช้สื่อดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสิทธิ์ สิงหาสิน. (2560). การออกแบบและพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ เทศกาลรับตะวันใหม่ก่อนใครในสยาม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สถาพร เกียรติพิริยะ. (2563). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองด้วยเทคโนโลยีสื่อดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 436–450.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2560). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : องค์การ.
อณพสิษฐ ไชยเชษฐ์ และคณะ. (2564) การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research : JBER. 7(1) (มกราคม – เมษายน) 121-122.
Minazzi, R. (2015). Social media marketing in tourism and hospitality. Switzerland: Springer International Publishing.