ลักษณะข้อผิดพลาดการเขียนภาษาไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ ปริวัตร อาจารย์ประจำหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

ลักษณะข้อผิดพลาด, การเขียนภาษาไทย, การใช้ภาษาไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ภาษาไทยเพื่อการทำงาน ปีการศึกษา 2564  จำนวน 108 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการเขียนเรียงความ โดยทำการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทย 3 ประเด็น คือ ด้านการเขียนสะกดคำ ด้านการใช้คำ และด้านการใช้ประโยค 

          ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีข้อผิดพลาดการเขียนภาษาไทย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุด คือ ด้านการเขียนสะกดคำ รองลงมาคือ ด้านการใช้คำ และพบน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้ประโยค 

ลักษณะข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดในแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ด้านการเขียนสะกดคำ ลักษณะข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุด คือ ด้านการใช้ตัวสะกดผิด รองลงมาคือด้านการใช้ตัวสะกดการันต์ผิด ด้านการใช้สระผิด  ด้านการใช้วรรณยุกต์ผิด และลักษณะข้อผิดพลาดที่พบน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้พยัญชนะต้นผิด 2) ด้านการใช้คำ  ลักษณะข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดคือ ด้านการใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียน รองลงมาคือ ด้านการใช้คำผิดความหมาย ด้านการใช้คำฟุ่มเฟือย และลักษณะข้อผิดพลาดที่พบน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้คำภาษาต่างประเทศ 3) ด้านการใช้ประโยค ลักษณะข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดคือ ด้านการใช้ประโยคที่เว้นวรรคผิด  รองลงมาคือ ด้านการใช้ประโยคที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ การใช้ประโยคที่เป็นสำนวนภาษาต่างประเทศ และลักษณะข้อผิดพลาดที่พบน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้ประโยคที่เรียงคำหรือกลุ่มคำผิดตำแหน่ง

References

กานต์รวี ชมเชย. (2556). ภาษาไทยเน็ต : ภาษาเฉพาะกลุ่มของคนไทยรุ่นใหม่ในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตที่ปรากฎในปี 2555-2556. (รายงานการวิจัย) กรุงเทพฯ : สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฐานะมนตร์ กลิ่นจันทร์แดง. (2555). การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2552. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (2555) การพัฒนาทักษะการเขียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี:

สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ธีระพล พงษ์พิมาย มาโนช ดินลานสกูล และวิทวัฒน์ ขัตติยะมาน. (2563). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด“ดอกไม้บานที่บ้านบาละ” เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค SQ10R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(2), 41-54.

บุญญาพร ทองจันทร์. (2560). ปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). วารสารช่อพะยอม, 28(1), 125-132.

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ. (2532,14 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 106 ตอนที่ 153 หน้า 457.

มติชนสุดสัปดาห์. (2560). เจาะลึก...วิกฤตภาษาไทย ปัญหาใหญ่ ศธ. เกาไม่ถูกที่คัน. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2564 จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_26876.

รณยุทธ์ เอื้อไตรรัตน์ และ นันทพร ศรจิตต์. (2562). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พิฆเนศวร์สาร, 15(1), 87-100.

วันชัย แก้วหนูนวล และภัสร์ธีรา ฉลองเดช. (2561). ลักษณะข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาไทย: กรณีศึกษาการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 1-11.

สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์. (2559). การศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารเพชรบูรณ์สาร. 18 (2), 65-74.

สุภัทร แก้วพัตร. (2560). ภาษากับสังคม. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก http://portal5. udru.ac.th>ebook>pdf>uplode.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26