สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ธีรุตม์ณัชช์ ชัยภัทธโธวัต สพม.9
  • นภาเดช บุญเชิดชู
  • จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของสมรรถนะของผู้บริหาร 2) ระดับการบริหารงานวิชาการ และ 3) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม จำนวน 315 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้านประกอบด้วย การพัฒนาตนเองการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร การวิเคราะห์และสังเคราะห์ การสื่อสารและการจูงใจ การทำงานเป็นทีม การมีวิสัยทัศน์ การบริการที่ดี และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามลำดับ 2) ระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้านประกอบด้วย การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการศึกษา การวัดและประเมินผล การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามลำดับ 3) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การพัฒนาตนเอง การบริการที่ดี การวิเคราะห์และสังเคราะห์และการมีวิสัยทัศน์ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 85.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2557). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ชนัญชิดา พุ่มดียิ่ง. (2557). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ดนยพัชร์ บุญญาธิ. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ยุพิณ ภารนันท์. (2557). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

รุ่งพร นิลบดี. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สมพงษ์ พรงาม. (2557). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2553). คู่มือในการปฏิบัติงานของอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งในส่วนราชการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุดารัตน์ ชื่นเจริญ. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อารีย์ น้ำใจดี. (2556). สมรรถนะประจำสายงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Buzzi, Michael Joseph. (1991). The Relationship of school Effectiveness to Selected Dimensions of Principals’ Instructional Leadership in Elementary School in the State of Connecticut. Dissertation Abstracts International 51. pp. 3167-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03