The Development of the English Reading Comprehension through the SQ6R Technique of the 10th Grade Students at Ratanaratbumrung School

Main Article Content

Jantarapim Rangsi
วชิระ จันทราช
มัณฑนา พันธุ์ดี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้เทคนิค SQ6R 2) ศึกษาความพึงพอใจด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการใช้ทดสอบค่าที


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้เรียนโดยการใช้เทคนิค SQ6R สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
Rangsi, J., จันทราช ว., & พันธุ์ดี ม. (2024). The Development of the English Reading Comprehension through the SQ6R Technique of the 10th Grade Students at Ratanaratbumrung School. Muban Chombueng Rajabhat University Research Journal (Humanities and Social Science), 12(2), 152–166. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/263709
Section
Research Articles

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สาวิตรี บุญนุชิต. (2562). ข้อดีของการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ, สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2562, จาก http://c.nstru.ac.th/th/news/ archive/md content/view/614.html.

ธัญยาลักษณ์ สังขลักษณ์. (2564). การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบSQ6R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปทิตตา สัตตภูธร. (2562). ผลของการใช้เทคนิคการสอนอ่าน SQ3R ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยาภรณ์ ศรีจันทร์. (2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ6R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ยุพเรศ ขาวฉ่ำ. (2559). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More โดยใช้สื่อการสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบปกติ วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อารีย์ ทองเพ็ง. (2556). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี SQ6R ร่วมกับเทคนิค KWL ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในการอ่าน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Festallor Education School. (2020). ความสำคัญของภาษาอังกฤษในด้านต่าง ๆ, สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2563, จาก https://www.festallor-edu.com/post/why-english-is-important

Partnership for 21st Century Skills. (2007). Beyond the Three Rs: Voter Attitudes Toward 21st Century Skills. Tucson, AZ: Author. Retrieved August 29, 2021, from http://www.p21.org/storage/documents/21st_century_skills_education_and_competitiveness_guide.pdf.