การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้

ผู้แต่ง

  • อมลรดา รงค์ทอง -

คำสำคัญ:

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้, จิตวิทยาอุตสาหกรรม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ในรายวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม 2) เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 10 แผนการเรียนรู้ แบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ในรายวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

จันทร์เพ็ญ อัมพรวัฒนพงศ์. (2560). ผลของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5 E’s) ที่มีผลต่อการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องพืชและสัตว์น่ารู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

ชิดชนก สาธรราษฎร์ และพงศ์ธนัช แซ่จู. (2564). ผลการศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อพัฒนาการคิดแบบอภิปัญญา เรื่องเซลล์และการทำงานของเซลล์ ในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(16), 83-94.

ชุติมา ธนาวัฒนากร. (2563). การพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E โดยใช้สื่อประสมเรื่องซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Microsoft word 2013) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารเทคโนโลยีและการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 3(7), 9-23.

ณัฐนันท์ จุยคำวงศ์. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องทศนิยม โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(1), 1-20.

เบญจวรรณ จันทวงศ์ และคณะ. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ เรื่องยีนและโครโมโซม ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 35(126), 90-99.

พีรพงษ์ คงขำ และคณะ. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค KWDL. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 10(6). 2471-2482.

ภัณฑิรา กัณหาไชย และจินตวีร์ คล้ายสังข์. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5E ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิก เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะ สำหรับนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Information and Learning. 31(3), 25-36.

ยู ซู และธิดารัตน์ สมานพันธ์. (2566). การศึกษาความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแนวปฏิบัติกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก เรื่อง การศึกษาสตีมในวัยเด็กของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิชาเอกการศึกษาปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 5E มหาวิทยาลัยนานาชาติกว่างซี เป่ยเซียน. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 17(1), 347-363.

รุ่งทิวา จันทร์สุข และสุมาลี ชูกำแพง. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการใช้บอร์ดเกม เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 16(3), 64-75.

วรรณภา บำรุงพันธ์ และยุพิน ยืนยง. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 23(2), 186-207.

วาสนา กีรติจําเริญ และอิสรา พลนงค์. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารและการนำเสนอของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กับวิธีการสอนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14(1), 29-43.

สุดา ทองทรัพย์ และทองปาน บุญกุศล. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ในวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนุษย์ 2 ต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจของนิสิตพยาบาล. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 8(2), 89-97.

สุมาลินี บูชาดี และอัมพร วัจนะ. (2565). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ร่วมกับบทเรียนออนไลน์บน Google Sites เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(11), 77-91.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟค จํากัด.

หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2561). มคอ.3 รายวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม. สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

อังคณา กรีณะรา. (2564). การพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน เศษส่วน และร้อยละ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น และใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 8(1), 119-128.

อนรรฆพร สุทธิสาร และอัมพร วัจนะ. (2564). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(1), 244-259.

อนุตรา อินทสอน และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2564). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(7), 142-159.

Bybee, L., Pagliuca, William and Perkins, Revere D. (1990). On the Asymmetries in the Affixation of Grammatical Material. In William Croft, Keith Denning and Kemmer, Suzanne: Studies in Typology and Diachrony. Edited by Joseph H., Amsterdam: John Benjamins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19

How to Cite

รงค์ทอง อ. (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ . วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 137–151. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/274713