การสื่อสารทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำสำคัญ:
การสื่อสารทางการเมือง, คนรุ่นใหม่, การตลาดการเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ในสังคมการเมืองไทย และวิเคราะห์การสื่อสารทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต
ผลการวิจัยพบว่า 1) คนรุ่นใหม่สื่อสารทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์หลายรูปแบบ ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การส่งต่อข้อมูล การติดตามสถานการณ์ การแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ การติดตามกระแสสังคมและการพูดคุยทางการเมือง 2) คนรุ่นใหม่สื่อสารทางการเมืองผ่านกิจกรรมทางการเมืองในพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ การชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองเชิงสัญลักษณ์ การร่วมรณรงค์ การเป็นผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง และการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 3) ความสนใจทางการเมืองของคนรุ่นใหม่เกิดขึ้นจากหลายเหตุปัจจัย อาทิ สภาพความเป็นอยู่และปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อตนเองในระยะยาว เหตุการณ์ทางการเมืองที่วุ่นวายและไม่เป็นประชาธิปไตย และปัจจัยด้านครอบครัว สังคม สภาพแวดล้อมที่ผลักดันให้ต้องสนใจทางการเมืองมากขึ้น 4) ในช่วงการเลือกตั้ง คนรุ่นใหม่มีการสื่อสารทางการเมืองมากกว่าปกติ มีการติดตามสถานการณ์ทางการเมือง การหาเสียงเลือกตั้งของนักการเมืองและพรรคการเมือง และวิเคราะห์ผลการเลือกตั้ง 5) มุมมองของคนรุ่นใหม่ต่อการสื่อสารทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองและประชาชน มุ่งเน้นที่การเข้าถึงข้อมูลของพรรคการเมืองได้ง่าย โปร่งใส และทันสมัย พรรคการเมืองต้องเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม และให้ความสำคัญกับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น
References
กีฬาบอล กอนแสง. (2564). สังคมออนไลน์กับการสร้างพื้นที่ประชาธิปไตย: กรณีศึกษากลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://digital.lib.ru.ac.th/m/b12122300/KeelaballKonseang.pdf
นันทนา นันทวโรภาส. (2557). สื่อสารการเมือง: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. แมสมีเดีย.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2564). การศึกษาการสื่อสารของพรรคการเมืองผ่านแนวคิดเรื่องการตลาดการเมือง (Political Marketing) เพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองไทย: กรณีศึกษาการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันพระปกเกล้า.
บุษฎี แววศักดิ์. (2564). การสื่อสารทางการเมืองผ่านทวิตเตอร์ของประธานาธิบดีโจโค วิโดโด แห่งประเทศอินโดนีเซีย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร. http://dcms.lib.nu.ac.th/dcms/TDC2565/BudsadeeWaeosak.pdf
วิสุทธิ์ ขันศิริ. (2564). กลยุทธ์การตลาดการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ในการหาเสียงเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต] ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Wisut.Khu.pdf
Rocket Media Lab. (2566, 23 กุมภาพันธ์). เจนไหนไฟแรงเฟร่อ : เปิดข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ’66. Rocket Media Lab. https://rocketmedialab.co/election-66-2/
Rocket Media Lab. (2566, 28 กุมภาพันธ์). เปิดข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ’66 รายภาค-รายจังหวัด และจำนวน ส.ส.เขต ‘62-’66. Rocket Media Lab. https://rocketmedialab.co/election-66-3/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต