การศึกษาข้อผิดพลาดการใช้บทขยายนามภาษาจีน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ผู้แต่ง

  • กฤษดา กฤตเมธกุล -

คำสำคัญ:

ข้อผิดพลาด, บทขยายนาม, นักศึกษาชาวไทยสาขาวิชาภาษาจีน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาข้อผิดพลาดการใช้บทขยายนามภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น (Errors Analysis) และวิธีการอธิบายข้อผิดพลาด เหล่านี้เชิงเปรียบเทียบ (Contrastive Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นลักษะของข้อผิดพลาดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ผลการวิจัยพบว่า ข้อผิดพลาดการใช้บทขยายนามภาษาจีนในงานเขียนเรียงความจำนวน 63 ชิ้นนั้น สามารถจำแนกลักษณะข้อผิดพลาดออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเรียงตำแหน่ง ของบทขยายนามที่มีส่วนขยายหลายข้อความไม่ถูกต้อง ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้บทขยายนามไม่ครบถ้วน และข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้บทขยายนามฟุ่มเฟือยหรือเกินความจำเป็น สาเหตุของการเกิดข้อผิดพลาด เหล่านี้เนื่องจากอิทธิพลของภาษาแม่ ความซับซ้อนของระบบภาษา ของทั้งสองภาษาและความเข้าใจ ที่ลึกซึ้งไม่มากพอเกี่ยวกับ ไวยากรณ์ภาษาจีนของนักศึกษา

จากลักษณะข้อผิดพลาดทั้ง 3 ประเภทนี้ พบว่าจำนวนครั้งของข้อผิดพลาดในการใช้ บทขยายนาม ของนักศึกษาที่ปรากฏ มีจำนวน 92 ครั้ง โดยข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุด คือ ข้อผิดพลาดที่เกิด จากการเรียง ตำแหน่งบทขยายนามไม่ถูกต้อง มีจำนวน 35 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 38.04 รองลงมาคือ ข้อผิดพลาดที่ เกิดจากการใช้บทขยายนามไม่ครบถ้วน มีจำนวน 32 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 34.78 และข้อผิดพลาดที่พบน้อยที่สุด คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้บทขยายนาม ฟุ่มเฟือยหรือเกินความจำเป็น มีจำนวน 25 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 27.18

References

นววรรณ พันธุเมธา. (2554). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสณุ ฟองศรี. (2554). วิจัยชั้นเรียน : หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

มาลินี บุณยรัตพันธุ์. (2559). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หวง หยิงหลี่. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ภาษาจีนกับภาษาไทย. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 11(2), 81.

อดุลย์ ไทรเล็กทิม. (2561). งานวิจัยสำหรับครูภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวทิยาลัยรามคำแหง.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Corder, S. P. ( 1974). Error analysis. In Allen and Corder (eds.).

Selinker, L. (1977). “Interlanguage” In Error Analysis. Singapore: Singapore off Printing Ltd.

刘月华等著. (2001). 使用现代汉语语法. 北京: 商务印书馆.

裴晓睿. (2001). 泰语语法新编. 北京: 北京大学出版社.

王建勤. (2014). 第二语言习得研究. 北京: 商务印书馆.

张宝林. (2006). 汉语教学参考语法. 北京: 北京大学出版社.

钟泰徳. (2013). 汉泰语数量定语对比研究. 硕士研究生学位论文, 广西民族大学. 南宁:广西民族大学.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19