การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ เรื่อง ดวงดาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้โปรแกรม Stellarium ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • ณิชากร ปทุมรังสรรค์ -
  • สุดารัตน์ พุทธวงศ์

คำสำคัญ:

ดวงดาว, การเพิ่มผลสัมฤทธิ์, โปรแกรม stellarium

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ดวงดาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้โปรแกรม stellarium ประกอบการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องดวงดาวของนักเรียน ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม stellarium และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ดวงดาว โดยใช้โปรแกรม stellarium กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดยอดสุวรรณคีรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้โปรแกรม stellarium แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ

ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม stellarium มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/81.36 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน (mean = 17.67, S.D. = 3.53) สูงกว่าก่อนเรียน (mean = 7.95, S.D. = 10.74) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (mean = 4.15, S.D. = 0.63)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย

เอกลักษณ์ ผ่องใส (2563). การศึกษาผลของการจดัการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยการ

ประยุกต์ใช้โมบายแอปพลิเคชัน ในวิชาดาราศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

นวัตกรรมการเรียนรู้และการสอน, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เบญจมาศ พึ่งน้ำ และ อัมพร วัจนะ. (2563). ผลการเรียนด้วยแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองบนสมาร์ทโฟนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตกพรมวิทยาคาร จังหวัดจันทบุรี. The 7th National Conference Nakhonratchasrima College, 7, 185-194.

Kemmis, S., and McTaggart, R. (1990). The action research planner. Geelong : Deakin

University Press.

Lelliott, A., & Rollnick, M. (2010). Big ideas: A review of astronomy education research 1974 – 2008. International Journal of Science Education, 32(13): 1771-1799.

Plummer, J. D., Waskoa, K. D., & Slagle, C. (2011). Children learning to explain daily celestial motion: Understanding astronomy across moving frames of reference. International Journal of Science Education, 33(14), 1963–1992. https://doi.org/10.1080/09500693.2010.537707

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19

How to Cite

ปทุมรังสรรค์ ณ., & พุทธวงศ์ ส. (2024). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ เรื่อง ดวงดาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้โปรแกรม Stellarium ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 51–66. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/267309