การพัฒนาคุณภาพแผนจัดการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงที่เรียนออนไลน์ผ่านกูเกิลคลาสรูม

The purposes of this research were (1) to analyze and improve the quality of the morality and ethics learning management plan Ethics and teacher spirit. (2) Evaluate and compare the quality of the learning management plan for the aforementioned subjects. according to the opinions of the students before using them in learning management.

ผู้แต่ง

  • จรินทร์ งามแม้น -
  • จริยะ วิโรจน์
  • บุญอินทร์ วิลัยเกษม

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านกูเกิลคลาสรูม, นักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้รายวิชาคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณ และจิตวิญญาณความเป็นครูก่อนนำไปใช้จัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านกูเกิลคลาสรูม และ 2) ประเมินและเปรียบเทียบคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้รายวิชาดังกล่าวตามความเห็นของนักศึกษาก่อนนำไปใช้จัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและสาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 38 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคประชุมโฟกัสกรุ๊ป ส่วนขั้นประเมินและเปรียบเทียบคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้ใช้แบบประเมินที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลขั้นวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพในเชิงคุณภาพ ขั้นประเมินคุณภาพวิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติทดสอบที

ผลการวิจัย พบว่า (1) แผนจัดการเรียนรู้มีค่า IOC ระหว่าง 0.53-1.00 ซึ่งส่วนใหญ่สูงกว่าเกณฑ์ 0.50-1.00 ที่กำหนด แต่มีการปรับปรุงแก้ไขในหมวดที่ 2 หมวดที่ 4 หมวดที่ 5 และหมวดที่ 6 ตามข้อเสนอแนะก่อนนำไปใช้จัดการเรียนรู้ (2) คุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของนักศึกษา ในภาพรวมทุกองค์ประกอบ นักศึกษาทั้งสองเพศและทั้งสองสาขาวิชาเห็นว่าแผนจัดการเรียนรู้มีคุณภาพสูง เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของแผนตามความคิดเห็นของนักศึกษาที่เพศและสังกัดสาขาวิชาต่างกัน พบว่า นักศึกษาที่เพศและสังกัดสาขาวิชาต่างกันเห็นว่าแผนจัดการเรียนรู้ที่จะใช้ออนไลน์ผ่านกูเกิลคลาสรูมมีคุณภาพไม่แตกต่างกัน

องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ ช่วยให้ พบว่า มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องจัดให้มีการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย

References

_____. (2553). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทยฉบับสำนวนกับวลี ENGLISH-THAI DICTIONARY with Idioms & Phrases. (พิมพ์ครั้วที่ 5). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

จริยะ วิโรจน์ และจรินทร์ งามแม้น. (2561). การศึกษาการรับรู้ความรู้และสมรรถนะตนเองของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

จริยะ วิโรจน์. (2563). การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

_____. (2563). เอกสารประกอบการเรียนรู้รายวิชาการประกันคุณภาพการศึกษา (Education Quality Assurance). ราชบุรี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

จุฑารัตน์ คชรัตน์ และคณะ. (2556). สมรรถนะความเป็นครูมืออาชีพของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เทพรัตน์ เอื้อธรรมถาวร และคณะ. (2561). “ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียน การสอนออนไลน์โดยใช้ GOOLGLE CLASSROOM รายวิชาการเป็นผู้ประกอบการและ การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ OPINION OF STUDENTS ONLINE TEACHING AND LEARNING MANAGEMENT USING GOOGLE CLASSROOM ON SUBJECT: ENTREPRENEURSHIP AND BUSINESS STARTUP.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. ฉบับที่ 2. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)

ประกาศมหาวิทยาลัยราชัฏหมู่บ้านจอมบึง เรื่อง ทุนอุดหนุนการวิจัย โครงการ 1 อาจารย์ 1 งานวิจัย พัฒนาการเรียนการสอน งบประมาณประเภทเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. 22 ธันวาคม พ.ศ.2564.

ประยูร เชาวนีนาท. (2560). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการชี้แนะสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. ชัยภูมิ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ปราณี หลำเบญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ยะลา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ไพฑูรย์ โพธิสาร. (2547). “มาตรวัดลิเคิร์ท”. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ (Encyclopedia of Education). Vol. 31. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2544). การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2547). An Advanced Pocket ENGLISH-ENGLISH-THAI : พจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ-ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : บริษัทรวมสาส์น (1997) จำกัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.

สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. ( 2548). รวมกฎหมายเพื่อบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย).

สุชาดา เกตดี. (2565). “ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom รายวิชาการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้.” การประชุมวิชาการระดับชาติ “ครุศาสตร์ศึกษา” ครั้งที่ 4 The 4th Nation Conference on Education มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ. (11 มีนาคม 2565) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0 กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิตย์ หมื่นคิด. (2562). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม Google Classroom เป็นสื่อ รายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่องกฎของโอห์มและการต่อตัวต้านทาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไทรโยคมณีกาญขน์วิทยา.”วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19