การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง
คำสำคัญ:
การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, เทคนิค SQ6Rบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้เทคนิค SQ6R 2) ศึกษาความพึงพอใจด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการใช้ทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้เรียนโดยการใช้เทคนิค SQ6R สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สาวิตรี บุญนุชิต. (2562). ข้อดีของการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ, สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2562, จาก http://c.nstru.ac.th/th/news/ archive/md content/view/614.html.
ธัญยาลักษณ์ สังขลักษณ์. (2564). การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบSQ6R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปทิตตา สัตตภูธร. (2562). ผลของการใช้เทคนิคการสอนอ่าน SQ3R ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิยาภรณ์ ศรีจันทร์. (2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ6R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ยุพเรศ ขาวฉ่ำ. (2559). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More โดยใช้สื่อการสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบปกติ วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อารีย์ ทองเพ็ง. (2556). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี SQ6R ร่วมกับเทคนิค KWL ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในการอ่าน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Festallor Education School. (2020). ความสำคัญของภาษาอังกฤษในด้านต่าง ๆ, สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2563, จาก https://www.festallor-edu.com/post/why-english-is-important
Partnership for 21st Century Skills. (2007). Beyond the Three Rs: Voter Attitudes Toward 21st Century Skills. Tucson, AZ: Author. Retrieved August 29, 2021, from http://www.p21.org/storage/documents/21st_century_skills_education_and_competitiveness_guide.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต