การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหลามยางหย่องที่สอดคล้องกับการยอมรับของตลาด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
คำสำคัญ:
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์, ข้าวหลาม, การยอมรับของตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการดำเนินงานและผลิตภัณฑ์ชุมชนข้าวหลามของตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนา “นวัตกรรมข้าวหลามยางหย่อง” และ 3) พัฒนานวัตกรรมข้าวหลามยางหย่องให้สอดคล้องกับการยอมรับของตลาด งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีใช้การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ข้อที่ 1 ผู้ผลิตมีความชำนาญในการทำข้าวหลามและมีความพร้อมที่จะพัฒนาข้าวหลามยางหย่องให้มีรูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยสื่อสารถูกใจผู้บริโภค เปิดทานได้ง่าย มีมาตรฐานและยังคงคุณภาพความอร่อย โดยผู้ประกอบการสามารถเรียนรู้และมีความพร้อมในการผลิต เพื่อส่งเสริมให้ข้าวหลามยางหย่องเป็นสินค้าชุมชนที่มีคุณภาพเป็นของฝากที่ประทับใจ ข้อที่ 2 นวัตกรรมข้าวหลามยางหย่องที่พัฒนาให้ใช้สูตรการผลิตตัวข้าวหลามในสูตรเดิม โดยเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย สร้างตราสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจเป็นข้าวหลามพร้อมทาน บรรจุในถุงสุญญากาศเพื่อความสะอาด คงรสชาติความอร่อยและเปิดทานง่าย ข้อที่ 3 นวัตกรรมข้าวหลามยางหย่องออกแบบและพัฒนาโดยคงอัตลักษณ์และสื่อความหมายของข้าวหลาม ตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ในนามของกลุ่มฯ คือ “เพชรยางหย่อง” และข้อที่ 4 ข้าวหลามสุญญากาศเพชรยางหย่องสามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างโอกาสสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้
References
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ.
บุณฑวรรณ วิงวอน. (2555). การเป็นผู้ประกอบการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ฉัตรชัย อินทสังข์ และปวีณา อาจนาวัง. (2555). ต้นแบบกลยุทธ์การตลาดสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน เพื่อการค้าระดับประเทศ สู่ความยั่งยืน กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีระดับต่ำกว่า 3 ดาว ในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ชัยยุทธ จันทองอุ่น. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และโอกาสทางการตลาดของผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยรังสิต.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2560). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นวันที่ 5 ก.ย. 64. จาก www.kmitl.ac.th/research/.
วิมลพรรณ อาภาเวท. (2553). หลักการโฆษณาและประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1.) กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.
วิทยา เทพอยู่. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางหย่อง. (20 มกราคม 2564). สัมภาษณ์.
Armstrong, Gary and Kotler, Philip. (2009). Marketing An Introduction. (9th ed.) Newfersey : Pearson Education.Etzel, 127.
Kotler, Phillip. and Armstrong, Gary. (2006). Principle of Marketing. (8th ed.) Prentice-Hall, Inc.
Mc Carthy, E.J. and W.D. Perreault, Jr. (1990). Applications in Basic Marketing. Hpmewood : McGraw-Hill Irwin.
Michael, K.R. , S. Vyas , S. Chad and Z. Zhenghao Zhang. (2009). Marketing Peer-Assisted Content Distribution Robust to Collusion Using Bandwidth Puzzles. 3rd ed. USA : Florida State University, Tallahassee.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต