การศึกษาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในฐานะบันเทิงคดี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบของบันเทิงคดีที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ 2. ศึกษากลวิธีการใช้ภาษาที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ วรรณกรรมเรื่อง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ฉบับกรมศิลปากร ในหนังสือความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย (ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1) การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description)
ผลการวิจัยพบว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีลักษณะที่เป็นงานเขียนบันเทิงคดี ประกอบด้วย การสร้างโครงเรื่องและการเล่าเรื่อง การสร้างตัวละคร การสร้างฉาก และการนำเสนอแก่นเรื่อง ในด้านกลวิธีทางภาษาพบลักษณะที่โดดเด่น คือ การใช้คำ การใช้ภาษาสร้างจินตภาพ และรสวรรณคดี กวีได้ใช้เครื่องมือทางภาษาและวรรณศิลป์ในการประกอบสร้างวรรณกรรมจารึก พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ให้มีฐานะเป็นวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานชั้นต้นทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชาติไทยอีกด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต
References
กรมศิลปากร. (2547). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย : หลักศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กุสุมา รักษมณี. (2534). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิตรลดา สุวัตถิกุล. (2529). องค์ประกอบสุนทรียศาสตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 22414 ภาษาไทย 7 (วรรณคดีวิจารณ์สำหรับครู). สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธวัช ปุณโณทก. (2553). วิวัฒนาการภาษาไทยและอักษรไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2563). เอกสารคำสอนวิชา 144822 ภาษา อักษรและวรรณกรรมไทยโบราณ. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.
สมทรง บุรุษพัฒน์. (2537). วจนวิเคราะห์: การวิเคราะห์ภาษาระดับข้อความ. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
Longacre, R. E. (1983). The grammar of discourse. New York: Plenum Press.