แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนหัวบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • วิภวานี เผือกบัวขาว
  • ฟาริดา ร่มพฤกษ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ, เส้นทางแหล่งท่องเที่ยว, แนวทางพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ 1) ศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนหัวบ้าน 2) ออกแบบ เส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนหัวบ้าน และ 3) แสวงหาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนหัวบ้าน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 396 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว ประธานคณะกรรมการชุมชนหัวบ้าน จำนวน 9 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและพรรณนาความ

ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนหัวบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านสิ่งดึงดูดใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการเข้าถึง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ 2) เส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนหัวบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ผู้วิจัยได้นำเสนอนี้นักท่องเที่ยวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม และความสะดวกของตน โดยผู้วิจัยได้นำเสนอเส้นทางท่องเที่ยว 2 เส้นทาง ดังนี้ เส้นทางท่องเที่ยวที่ 1 ได้แก่ ศาลหลักเมืองชุมชนหัวบ้าน อุทยานประวัติศาสตร์กองบิน 5 และเจ้าพ่อเขาล้อมหมวก ส่วนเส้นทางที่ 2 ศาลหลักเมืองชุมชนหัวบ้าน พิพิธภัณฑ์ชุมชน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ชาวประมง และวัดเกาะหลัก และ 3) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนหัวบ้านอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ดังนี้ (1) ควรมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวผ่านทางเทคโนโลยีการสื่อสาร (2) ควรส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนสร้างแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณี (3) ควรจัดเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกันโดยใช้เรื่องราวทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตพื้นเมือง และ (4) ควรมีการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ภาคเอกชน และชุมชนเพื่อการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

References

กรมการท่องเที่ยว.(2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561–2564. กรุงเทพฯ: วีไอพี ก็อปปี้ปริ้น.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กุลจิรา เสาวลักษณ์. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ . (2560). แผนพัฒนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5 ปี (2561-2565) รอบปี พ.ศ. 2563, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2551). การท่องเที่ยวไทยนานาชาติปี พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อ การพัฒนาการท่องเที่ยวไทย.
ธนธรณ์ ศรีสวัสดิ์ (2552). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองลัดมะยม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. นนทบุรี:เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
สรายุทธ กันหลง. (2555). การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2561, จาก http://www.ipernity.com/blog/248956/424773.
Collier and Harraway. (1997). Principler of Tourism. Auckland: Longman Paul Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23