ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในการคุ้มครองสัตว์ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 : กรณีความรับผิดฐานการปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใด ๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร
คำสำคัญ:
การบังคับใช้กฎหมาย, การจัดสวัสดิภาพสัตว์, สัตว์จรจัดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานการละทิ้งสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควรของกฎหมายไทย กฎหมายสหรัฐอเมริกา รัฐอิลลินอยส์ กฎหมายนิวซีแลนด์ และกฎหมายฟิลิปปินส์ เพื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งเพื่อศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะในการปรับปรุง แก้ไข และเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ต่อไป
ผลการศึกษา พบว่า ในปัจจุบันพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ในความผิดฐานการละทิ้งสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ยังคงมีอัตราโทษที่ไม่เหมาะสมต่อการห้ามปรามผู้กระทำความผิด และยังคงขาดมาตรการทางกฎหมาย ในการขึ้นทะเบียนสัตว์อย่างเป็นรูปธรรม อันถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายในการป้องกัน แก้ไข และควบคุมการกระทำความผิดฐานการละทิ้งสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงควรมีการเพิ่มเติมบทลงโทษให้มีความรุนแรงเหมาะสม และบัญญัติเพิ่มเติมกฎหมายที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลสัตว์ กำหนดรายละเอียดของการดูแล และกำหนดให้มีการดำเนินการจดทะเบียนและการฝังไมโครชิปหรือวิธีการยืนยันตัวสัตว์โดยวิธีอื่นใด เพื่อส่งเสริมให้การบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันการกระทำความผิดฐานการละทิ้งสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้มีความสมบูรณ์ และมีมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
คณิต ณ นคร. (2560). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ญาดา เดชชัย. (2559). อาชญากรรมต่อสัตว์ในมลรัฐอิลลินอยส์: ข้อสังเกตต่อพระราชบัญญัติ ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557. วารสารนิติศาสตร์, 45, 1053-1072.
ณรงค์ ใจหาญ. (2560). การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดและเป็นธรรม, สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562, จาก https://siamrath.co.th/n/22481.
ตวงพร อานันทศิริเกียรติ. (2560). กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ : มุมมองเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 7(2), 1-5.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2556). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล. (2561). ขึ้นทะเบียนหมา-แมว : ผู้เลี้ยงขอความชัดเจนจากรัฐบาลเรื่องแผน ช่วยเหลือสัตว์ กรมปศุสัตว์ชี้เป็นก้าวแรกแก้ปัญหาสัตว์จรจัด, สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2562, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-45823462
นุชนารถ เจริญสุข. (2555). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัข. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพดล ปกรณ์นิมิตดี. (2560). กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ บทสะท้อนมุมมองที่หายไปต่อ กรณีเจ้าของสัตว์อำพราง, สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2562. จาก https://www. matichon.co.th/news/537938.
พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557, สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562. จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%BB53/%BB53-20-2557-a0001.htm.
ประพิมพ์พรรณ เงินทิพย์. (2554). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัญชลี ราตรี. (2555). การใช้ดุลพินิจกำหนดโทษทางอาญา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2546). การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.
สำนักข่าวไทยรัฐ. (2562). "เฉลิมชัย" ห่วงสุนัข-แมวจรจัด สั่งรณรงค์ผ่าตัดทำหมันทั่วประเทศไทย. 6 แสนตัว, สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2563. จากhttps://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/ 1689663.
สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์, กรมปศุสัตว์. (2559). จำนวนประชากรสุนัขและแมว ปี 2559, สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2563. จาก http://dcontrol.dld.go.th/webnew/ index.php/th/news-menu/2018-07-04-04-12-47/rabies/360-dogpop2016.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต