การศึกษาประวัติศาสตร์การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมของประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อรุโณทัย วรรณถาวร

คำสำคัญ:

เชียงใหม่, ประเพณียี่เป็ง, ลอยกระทง, การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมของประเพณียี่เป็ง ภายใต้กรอบคิดเรื่องการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม ทุน การสร้างภาพแทน และการบริโภคหลังสมัยใหม่ โดยอาศัยวิธีการทางประวัติศาสตร์ จากเอกสารชั้นต้น เช่น พงศาวดาร ตำนาน โคลงกลอน รวมถึงเอกสารชั้นรอง เช่น ตำรา งานวิจัย และหนังสือ ผลการศึกษาพบว่าประเพณียี่เป็งเคยมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม ศาสนาพุทธ และความเชื่อเรื่องผี  จนกระทั่งเกิดมาตรการปรับเปลี่ยนศาสนาและพิธีกรรมในสังคมล้านนาของรัฐชาติสยาม และมาตรการการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเพณียี่เป็งถูกทำให้กลายเป็นสินค้าตอบสนองอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทำให้เกิดประเพณีที่แปลกแยก ไม่สอดคล้อง และกลายเป็นปฏิปักษ์ต่อชุมชน บทความเสนอว่าการต่อสู้กับภาพแทนของประเพณียี่เป็งประแสหลักจำเป็นต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างจินตนาการทางเลือกเกี่ยวกับประเพณียี่เป็งที่เป็นของชุมชนจริง ๆ ขึ้นมาแทนที่

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสารศึกษา. กรุงเทพ: ภาพพิมพ์.

เกษียร เตชะพีระ. (2557). การอ่านวัฒนธรรมไทยของนิธิ เอียวศรีวงศ์. ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์, ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น กางเกงใน และ ฯลฯ, 9-27. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มติชน.

ฆัสรา ขมะวรรณ. (2537). แนวความคิดของเรย์มอนด์ วิลเลียมส์ ในวัฒนธรรมศึกษา และการวิเคราะห์วัฒนธรรมบริโภค. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข. (2550). คำนำผู้แปล. ใน ปิแอร์ บูร์ดิเยอ, เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์, 1-12. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข. (2550). มโนทัศน์สำคัญ ๆ ทางสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาในผลงานของ ปิแยร์ บูร์ดิเยอ, ใน ปิแอร์ บูร์ดิเยอ (2550), เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์, 1-12. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ชิเกฮารุ ทานาเบ. (2555). พิธีกรรมและปฏิบัติการในสังคมชาวนาภาคเหนือของประเทศไทย. เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาชาติพันธ์เละการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดิศรินทร์ ศุภสมุทร. (2557). บทบาทสื่อมวลชนต่อวัฒนธรรมไทย. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2558, จาก www.prthailand.com/bak/images/article_images/pr.pdf

นิคม พรหมมาเทพ. (2558, 30 มีนาคม). ปราชญ์ชาวบ้าน. ศูนย์การเรียนรู้ผะหญาล้านนา 82 หมู่ 6 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2557). ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น กางเกงใน และ ฯลฯ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มติชน.

เบ็ญจา จิรภัทรพิมล, วารุณี ภูริสินสิทธิ์ และ กอบกุล รายะนาคร. (2531). การใช้แรงงานเด็กและผู้หญิง: ทิศทางการพัฒนาชนบทและการขยายตัวของเมืองเชียงใหม่บนพื้นฐานของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ททท. (2547). คู่มือกิจกรรมเที่ยวทั่วไทยไปได้ทุกเดือน. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ททท. (2523). รายงานประจำปี 2523. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ไทยพีบีเอส. (2562). ระทึก! ควันหลง "โคมลอย" ตกเกลื่อน-ไฟไหม้หลายจุด. สืบค้นเมื่อ

กรกฎาคม 2563, จาก news.thaipbs.or.th/content/286022

ไทยโพสต์. (2562). เชียงใหม่ประกาศจัดงาน ยี่เป็ง(ลอยกระทง)ปี 62 อย่างยิ่งใหญ่. สืบค้นเมื่อ

กรกฎาคม 2563, จาก www.thaipost.net/main/detail/49434

ไทยรัฐออนไลน์. (2562). โคมลอยยี่เป็งป่วน เชียงใหม่ยกเลิก 151 เที่ยวบิน ต้องกำหนดพื้นที่ห้าม. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563, จาก www.thairath.co.th/news/local/north/1702403

ผู้จัดการออนไลน์. (2557). จับตา! โคมลอย - พลุดอกไม้ไฟ โศกนาฎกรรมวันลอยกระทง. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2558, จากwww.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=

ภัคดีกุล รัตนา. (2556). การสร้างภาพลักษณ์ผู้หญิงเหนือ: ผลกระทบจากการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวไทย. ใน ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น และ ภูเดชแสนสา (บ.ก.), หมุดหมายประวัติศาสตร์ล้านนา, 247-270. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ตะวันออก.

มณี พะยอมยงค์. (2548). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

มณี พยอมยงค์ และ ศิริรัตน์ อาศนะ. (2538). เครื่องสักการะในล้านนาไทย. เชียงใหม่: ทรัพย์การพิมพ์

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2553). สู่ 1 ทศวรรษ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

สมพล ไวโย และอุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). ว่าว/ว่าวลม, ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 12, 6263-6264. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2563). โครงการชลประทานเชียงใหม่ จัดเจ้าหน้าที่ประเมินปริมาณเศษซากกระทง หลังเสร็จสิ้นประเพณียี่เป็งเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563, จาก thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG191113195824753

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558a). จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย พ.ศ 2545 – 2558. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563, จาก http://service.nso.go.th/nso/

web/statseries/statseries23.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2552 - 2558. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563, จาก http://service.nso.go.th/nso/web/

statseries/statseries23.html

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). ตั้งธัมม์หลวง, ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 5, 2340-2350. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย.

Adorno, T. W. & Horkheimer, M. (1989). Dialectic of Enlightenment (J. Cumming, Trans). London: Verso.

Adorno, T. W. (1991). Culture Industry Reconsidered. In J.M. Bernstein (Ed.), The Culture Industry: Selected Essays on Mass Culture, 85-92. London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19