ปัจจัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบเวิร์คเคชั่น พื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อำภา บุตรพรม สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • พงษ์พิพัฒน์ เสน่ห์ดี สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, นักท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวรูปแบบเวิร์คเคชั่น, เขตคลองสาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบเวิร์คเคชั่น พื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวรูปแบบเวิร์คเคชั่นพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการทดสอบเครื่องมือโดยการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานในงานวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x =4.20, S.D.=0.78) เมื่อพิจารณาปัจจัยแต่ละด้าน พบว่า 1) เพศต่างกัน ส่งผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบเวิร์คเคชั่น พื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ด้านสิ่งดึงดูดใจ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก แตกต่างกัน 2) อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน ส่งผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบเวิร์คเคชั่น พื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ด้านที่พัก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อย่างไรก็ตาม ในการขับเคลื่อนและพัฒนาการท่องเที่ยวรูปแบบเวิร์คเคชั่นพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องมีการปรับปรุงราคาที่พักให้มีความเหมาะสม เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครอบคลุมพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว และควรมีจุดประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจน เพื่อช่วยเหลือนักท่องเที่ยวกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566, 28 ตุลาคม). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2566. https://www.mots.go.th/news/category/705

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท). (2566, 25 ตุลาคม). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศ (เดือนมกราคม-มีนาคม 2566). https://tatreviewmagazine.com/article/inter-q2-2023/

ชิตวร ประดิษฐ์รอด. (2557). ปัจจัยองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว และปัจจัยแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวปริมณฑลของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณหทัย มุขดีสุทธวัฒน์. (2564). ความคาดหวังและการรับรู้ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมายังพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ดวงใจ ฤดีสถิต. (2563). องค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวและแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวทัวร์ไหว้พระของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นุชรา แสวงสุข. (2564). ทำการศึกษาเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(2), 129-147.

ปรเมษฐ์ ดำชู, ธีภพ เขื่อนเมือง, และฐิติฌาย์ ดีเอม. (2565). นักท่องเที่ยวกลุ่มทำงานเที่ยวได้ (Workation): ความหมาย ลักษณะ มุมมองโอกาส และความท้าทายในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี, 10(2), 252-280.

ปรัชญา บุญเดช. (2561). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วีรวิชญ์ บุญส่ง. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา สศ 2211402 การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 4 ระหว่างการ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 8(1), 53-65.

แสงรวี เกตุสุวรรณ. (2563). องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร. (2563). การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตคลองสาน ปี พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: กองนโยบายและแผนงาน สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร.

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี. (2566, 25 ตุลาคม). รัฐบาลเดินหน้ากระตุ้นไทยเที่ยวไทย ผลักดัน Workation ท่องเที่ยว. สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี. https://region2.prd.go.th/th/content/category/detail/id/1169/iid/85166

Cochran, W.G. (1977). Wiley: Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons.

Holidu. (2021, October 25). The best cities for a workation. Holidu. https://www.holidu.co.uk/magazine/the-best-cities-for-a-workation

Kiesnoski, K. (2021, July 20). Thinking about a working getaway? Here are the world’s top 10 spots for ‘workations’. CNBC. https://www.cnbc.com/2021/08/29/here-are-the-worlds-top-spots-for-working-vacations.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2024

How to Cite

บุตรพรม อ., & เสน่ห์ดี พ. (2024). ปัจจัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบเวิร์คเคชั่น พื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร . วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20(2), 130–147. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/275489