การประยุกต์ใช้กระบวนการการเป็นเอตทัคคะในชีวิตประจำวัน
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้, การเป็นเอตทัคคะ, พุทธศาสนาเถรวาทบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้กระบวนการการเป็นเอตทัคคะในชีวิตประจำวัน มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) ศึกษาและวิเคราะห์การเป็นเอตทัคคะที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ (2) เสนอการประยุกต์ใช้กระบวนการการเป็นเอตทัคคะในชีวิตประจำวัน
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา วรรณกรรมพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่อง “เอตทัคคะ” โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำเสนอเรื่อง “การประยุกต์ใช้กระบวนการการเป็นเอตทัคคะในชีวิตประจำวัน”
การเป็นเอตทัคคะในพระพุทธศาสนาแสดงถึงการเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษสูงกว่าผู้อื่น เป็นตำแหน่งที่พระพุทธเจ้าได้แต่งตั้งให้พุทธบริษัท 4 ดังปรากฏในพระสุตตันตปิฎก 7 หมวด ว่าด้วยความเป็นเลิศของ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และเรื่องราวอดีตชาติของสาวกและสาวิกาที่ได้ตำแหน่งเอตทัคคะเพราะอาศัยเหตุต่าง ๆ รวมถึงปรากฏในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ว่าด้วยความเป็นเลิศในการตรัสรู้เร็ว ของพระพาหิยะทารุจีริยะ และความเป็นเลิศในการมีลาภมาก ของพระสีวลี ที่เป็นตัวอย่างการแสดงเจตจำนง มีกระบวนการปฏิบัติตนเพื่อจะได้รับการแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะตามที่ปรารถนา จากนั้นจึงประยุกต์ใช้กระบวนการการเป็นเอตทัคคะมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตโดย (1) การวางเป้าหมาย กำหนดให้ชัดเจนในสิ่งที่ต้องการจะเป็น (2) การปฏิบัติด้วยความเพียรพยายามอย่างไม่ท้อถอย จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย (3) การประกาศความสำเร็จเพื่อเป็นต้นแบบให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม
References
เกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย. (2566). ระบุคนต้นแบบ (Role Model) แล้วเรียนรู้จากเขา. https://thecoach.in.th/2023/ระบุคนต้นแบบ-role-model-แล้วเรีย
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). ประวัติพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: ห้างหุ้นส่วนจำกัด นวสาส์นการพิมพ์.
เจริญ ผุดวรรณา. (2545). ประวัติภิกษุณีผู้เป็นเอตทัคคะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
ติณณ์ อินทโสฬส. (2564). ศึกษารูปแบบของกุศลกรรมกับการได้เอตทัคคะของพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาเถรวาท [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธาราญา. (2564). พระอสีติมหาสาวก 80 องค์ และเอตทัคคะ 41 องค์. https://dharayath.com/พระ-อสีติมหาสาวก
บรรจบ บรรณรุจิ. (2544). อสีติมหาสาวก. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระกิตติศักดิ์ ยโสธโร (แก้วเหลา). (2537). การศึกษาบทบาทของพระสารีบุตรเถระในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน พรหมอยู่/กัลยาณธัมโม). (2557). เอตทัคคะ ในพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2543). พระพุทธประวัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุดคำวัด. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม.
พระประยูร อาจิณฺณธมฺโม (รุ่งเรือง). (2564). บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาวกในพระสุตตันตปิฎก [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาจรูญ ปญฺญาวโร (อินทร์ยงค์). (2540). การศึกษาบทบาทของพระมหากัสสปเถระในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาจิตติภัทร อจลธมฺโม (จันทร์คุ้ม). (2537). การศึกษาบทบาทของพระอานนท์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุชญา โรจนญาโณ (ยาสุกแสง). (2540). การศึกษาบทบาทของพระมหาโมคคัลลานเถระในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก. (2541). ความหมายแห่งพระรัตนตรัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สิน งามประโคน. (2559). การวิเคราะห์พุทธวิธีการบริหารการศึกษาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารธรรมทรรศน์, 16(2), 33-44.
สุขสันต์ สุขสงคราม. (2563). แนวคิดการบริหารแบบวงจรคุณภาพ (PDCA) กับการบริหารแบบพระพุทธศาสนา. วารสารธรรมวัตร, 2(1), 39-49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
This article has been published in the Journal of Humanities and Social Sciences at Prince of Songkla University, Pattani Campus.