ศึกษาการใช้คำกริยาหลายความหมาย ‘놓다’ ในภาษาเกาหลี ของนักศึกษาชาวไทย

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ บุญชู คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธนัชพร ปริกัมศีล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พุธิตา สิงหเดช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

คำกริยาหลายความหมาย, ภาษาเกาหลี, 놓다/Nohda, นักศึกษาชาวไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของการเรียนรู้และการใช้คำกริยาหลายความหมายในภาษาเกาหลีของนักศึกษาชาวไทย ซึ่งผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการเรียนรู้คำกริยาหลายความหมายของนักศึกษาชาวไทยจำนวน 86 คน พบว่า นักศึกษาร้อยละ 97.7 เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเรียนการสอน อีกทั้งมีความต้องการให้จัดการเรียนรู้คำกริยาหลายความหมายภาษาเกาหลีในคาบเรียน โดยนักศึกษาชาวไทยต้องการเรียนรู้การใช้คำกริยาหลายความหมายให้เหมาะสมกับบริบทที่แตกต่าง รวมถึงความหมายภาษาไทยของคำกริยาหลายความหมายนั้น ๆ ในแต่ละบริบทมากถึงร้อยละ 88.3 ในด้านความสามารถในการใช้คำกริยาหลายความหมาย ‘놓다' จากผลวิเคราะห์คำตอบของแบบทดสอบความสามารถในการใช้คำกริยาหลายความหมาย '놓다' ทั้งแบบปรนัยและอัตนัยจำนวน 30 ข้อจาก 26 ความหมาย ซึ่งกำหนดเกณฑ์ผ่านการประเมินแบบทดสอบความสามารถที่ร้อยละ 60 พบว่า นักศึกษาชาวไทยมีความรู้ความเข้าใจความหมาย และสามารถแปลความหมายวลี '놓다' เป็นภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดได้ทั้งหมด 16 ข้อคำถาม ซึ่งข้อที่ตอบถูกนั้นเป็นความหมายหลักและใช้ในสถานการณ์ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับภาษาไทยในความหมาย “วาง” หรือ “ปล่อย” สิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมจึงสามารถจำแนกความหมายและคาดเดาความหมายจากบริบทรอบ ด้านได้ นอกจากนี้ ความหมายที่นักศึกษาชาวไทยตอบผิดนั้นมี 14 ข้อคำถาม จากการวิเคราะห์คำตอบข้อคำถามที่ตอบผิดเกินร้อยละ 60 นั้น พบว่า ข้อคำถามที่ตอบผิดนั้นเป็นความหมายขยายของ คำกริยาหลายความหมาย ‘놓다” โดยนักศึกษาชาวไทยไม่สามารถ แปลความหมายของวลี ‘놓다” ในความหมายขยายได้ถูกต้อง ในทางกลับกันสามารถตอบแบบทดสอบปรนัยในข้อดังกล่าวได้ ถูกต้องเกินร้อยละ 60 จึงสะท้อนให้เห็นว่านักศึกษาไทยส่วนใหญ่ สามารถจำแนกความหมายหลักและสามารถใช้คำกริยาหลาย ลาย ความหมาย “놓다” ในความหมายหลักได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับ สถานการณ์ แต่ไม่สามารถจำแนกความหมายขยายและไม่สามารถ คาดเดาความหมายขยายได้แม้จะมีสถานการณ์ตัวอย่างหรือกำหนด บริบทแวดล้อมให้ก็ตาม

References

กาญจนา สหวิริยะ. (2565). ศึกษาการใช้คำวิเศษณ์บอกเวลาพ้องความหมายในภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย กรณีศึกษา: คำวิเศษณ์บอกเวลา “벌써-이미” “ 지금-이제” “ 어서-얼른”. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 39(1), 42-72.

สถาบันภาษาเกาหลีแห่งชาติ. (ม.ป.ป). พจนานุกรมสำหรับผู้เรียนภาษาเกาหลี-ไทย. https://krdict.korean.go.kr/tha

Cho, H. (2000). A Study on Vocabulary-Based Korean Language Teaching Methods. [Kyung Hee University Graduate School of Korean Language and Literature]. National Research Foundation of Korea (NRF).

Jun, n. (2015). Korean for Intermediate Chinese Learners: Focusing on the Verbs 'Catch' and 'Put' [Master's thesis]. Pusan National University.

Kang, H. (2021). TEACHING RECEPTIVE SKILLS OF KOREAN LANGUAGE (pp.90). Korean cultural history.

Kang, H. (2021). Theory of Korean Vocabulary Education (Series of Korean Language Education 3) (pp.78). Publisher Hangeul Park.

Kang, H., & Lee, M. (2017). Introduction to Korean Language Education (pp.77). Publication Culture Center.

Kang, H., & Lee, M. (2011). Studies in Teaching Comprehensive Skills of Korean Language. Korea National Open University Press.

Kim, H. (2005). Survey on frequency of use of modern Korean language 2. National Institute of the Korean Language.

The National Book of Korean. (2023, March 2) The Standard Korean Dictionary. https://stdict.korean.go.kr/main/main.do.

Netima, B. (2015). A study on educational plans of the polysemic Korean word 'Japta' for Thai learners of Korean [Master's thesis]. Sookmyung Women's University Graduate School.

Sasiwan, N. (2013). A contrastive Study on Polysemous Words between Korean and Thai: Focusing on the verb '먹다' [Master's thesis]. Kyung Hee University Graduate School.

Thanarat, C. (2022). Multisynonym education plan for Thai language learners: Focusing on the verb 'to see', General Graduate School; Korean Education as a Foreign Language [Master's thesis]. Busan University of Foreign Studies.

Wang, H. (2021). A Study on the Chinese Correspondence of Korean Verbs 'Put' and 'Put' [Master's thesis]. Dongguk University Graduate School.

Wilkins, D. A. (1972). Linguistics in Language Teaching. Cambridge: MFT Press.

Zhan, S. (2017). A study on education of Korean polysemy for Chinese learners: focusing on ‘neohda’, ‘nohda’, ‘japda’ [Master's thesis]. Chung-ang University.

Zang, Y. (2011). A Comparative Study of Korean Verbs 'Put' and 'Put': Focusing on Chinese Correspondence [Master's thesis]. Yonsei University Graduate School.

박종화. (1954-1957). 임진왜란. 조선일보.

우 군. (2015). 중급 중국인 학습자를 위한 한국어 다의어 교육 방안 연구- 동사 ‘잡다’와 ‘놓다’ 를 중심으로 [석사학위논문, 부산대학교 대학원]

이희승. (1956). 벙어리 냉가슴. 한국학중앙연구원.

한용운. (1935). 흑풍. 조선일보.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023

How to Cite

บุญชู จ., ปริกัมศีล ธ., & สิงหเดช พ. (2023). ศึกษาการใช้คำกริยาหลายความหมาย ‘놓다’ ในภาษาเกาหลี ของนักศึกษาชาวไทย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 19(2), 50–94. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/269070