Soft Power: ปัจจัยในการพัฒนาประเทศของสาธารณรัฐเกาหลี
คำสำคัญ:
ปัจจัย, Soft Power, การพัฒนา, สาธารณรัฐเกาหลีบทคัดย่อ
บทความวิจัย เรื่อง Soft Power : ปัจจัยในการพัฒนา ประเทศของสาธารณรัฐเกาหลี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผล ต่อการตัดสินใจของรัฐบาลเกาหลีใต้ในการนำนโยบาย Soft Power มาใช้ในการพัฒนาประเทศ รัฐบาลเกาหลีใต้เล็งเห็นถึงข้อจำกัดบาง ประการที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม Soft Power จึงเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศตั้งแต่ปลาย ทศวรรษ 1990 จนกระทั่งเกาหลีใต้สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เปลี่ยนจากประเทศยากจนกลายเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จใน การส่งออกวัฒนธรรมระดับโลก
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้รัฐบาลเกาหลีใต้ตัดสินใจ ใช้ Soft Power ในการพัฒนาเศรษฐกิจประกอบด้วยสาเหตุหลาย ประการ ปัจจัยแรกเกิดจากวิกฤติการเงินเอเชียในปี ค.ศ. 1997 เกาหลีใต้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก รัฐบาลเกาหลีใต้ ต้องการสร้างภาพลักษณ์ใหม่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศจึง เลือกใช้ Soft Power เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ปัจจัยที่ สอง คือ ข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาทำให้ การเพาะปลูกมีจำกัดและเกาหลีใต้มีสถานะเป็นรัฐกันชน นโยบาย ทางการทูตเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงดำเนินด้วยการ ใช้วัฒนธรรม ปัจจัยที่สามเกาหลีใต้ใช้ Soft Power ในการผลักดัน
สินค้าออกสู่ตลาดต่างประเทศเพื่อสร้างการรับรู้และค่านิยมการ บริโภคสินค้าสัญชาติเกาหลีใต้ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง นโยบายการพัฒนาประเทศเพื่อก้าวสู่บทบาทในเวทีโลก ปัจจัยที่สี่ คือ เกาหลีใต้มีต้นแบบความสำเร็จด้านอุตสาหกรรมบันเทิงจาก สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ปัจจัยสุดท้ายเกาหลีใต้มีข้อจำกัดด้านจำนวน ประชากร ปัจจัยทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้ตัดสินใจใช้ Soft Power ในการพัฒนาประเทศเกาหลีใต้
References
กันยารัตน์ จันทร์สว่าง และสุภาวดี พรหมบุตร. (2562). ทุนมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลง: กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(2), 209-222.
กุลลดา เกษบุญชู มี้ด. (2556). กระบวนการเข้าสู่ความเป็นสากลของระบบทุนนิยมและลัทธินิยมใหม่. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 43(2), 7-43.
ฉัตรชนก พินิจวงษ์. (2561). นโยบายการสร้างชาติเกาหลีใต้ของประธานาธิบดีปักจุงฮี ค.ศ.1961-1979 [บทความวิจัยปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ระบบฐานข้อมูลบทความวิจัยนักศึกษาสาขาวิชาเอเชียศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://isas.arts.su.ac.th/?p=3794
ณัฏฐณิชชา ภูวสิริโรจน์. (2563). นโยบาย Cool Japan กับการส่งเสริมเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น [สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ระบบฐานข้อมูลบทความวิจัยนักศึกษาสาขาวิชาเอเชียศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://isas.arts.su.ac.th/?p=5242
นภดล ชาติประเสริฐ (บรรณาธิการ), ชนินทร์ มีโภคี, พัฒน์นรี ศรีศุภโอฬาร, พิพาดา ยังเจริญ, วิเชียร อินทะสี, จักรกริช สังขมณี, วิลาสินี พนานครทรัพย์, และ ไพบูลย์ ปีตะเสน. (2560). เกาหลี ปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
แบ๊งค์ งามอรุณโชติ. (30 มิถุนายน 2564). ปลุกเสือหลับ ขยับเสือนอนกิน: บทบาทของแรงงานเกาหลีใต้ กับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ก้าวหน้า. The101. https://www.the101.world/awaking-sleeping-partner/
ไพบูลย์ ปีตะเสน. (2555). ประวัติศาสตร์เกาหลี : จากยุคเผ่าพันธุ์ถึงยุคสาธารณรัฐใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โพสต์.
วริศรา ภาคมาลี. (2563). การทูตสาธารณะ เครื่องมือ Soft Power ของเกาหลีใต้ กรณีศึกษาการทูตวัฒนธรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์] หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วันชัย ตัน. (15 กุมภาพันธ์ 2563). Parasite กับแผนยุทธศาสตร์ชาติเกาหลีใต้. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/social/1469
วิเชียร อินทะสี. (2551). ประสบการณ์การพัฒนาของเกาหลีใต้. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา, 13(1), 57-82.
_______. (2561). เกาหลีในช่วงอลหม่าน ค.ศ. 1864-1953. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร และ Chang, H. (2560). กับดักสถาบัน: กลไกทางสถาบันกับการไล่กวดทางเศรษฐกิจ. Innovating Thailand. [Symposium]. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ งานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2560, Centara Grand at Central World. https://www.pier.or.th/conferences/2017/symposium/
เอกศาสตร์ สรรพช่าง. (5 เมษายน 2564). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเต้นกินรำกินแบบเกาหลีใต้. The101. https://www.the101.world/entertainment-industry-and development-in-south-korea/https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:190150
เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์. (2543). ภาวะผู้นำกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของเกาหลีใต้. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 31(1), 87-108.
ฮง, ยู. (2564). กำเนิดกระแสเกาหลี The Birth of Korean Cool (พิมพ์ครั้งที่ 2) (วิลาส วศินสังวร, ผู้แปล). เอิร์นเนส พับลิชชิ่ง.
BBC. (10 กุมภาพันธ์ 2020). ออสการ์ 2020 : Parasite กวาด 4 รางวัลใหญ่ รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยม. https://www.bbc.com/thai/international-51440199
Keohane, R. O. & Nye, J. S., Jr. (2000). Globalization: What’s New? What’s Not? (And So What?). Foreign Policy, (118), 104-119. https://doi.org/10.2307/1149673
Nye, J. S., Jr. (2004). Soft Power: the means to success in world politics. PublicAffairs.
North, D. C. (1991). “Institutions”. Journal of Economic Perspectives, 5(1), 97-112. https://doi.org/10.1257/jep.5.1.97
Schumpeter, J. A. (1950). Capitalism, socialism, and democracy. Harper.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
This article has been published in the Journal of Humanities and Social Sciences at Prince of Songkla University, Pattani Campus.