ผลกระทบด้านกาย จิต สังคม ของเด็กที่มีพฤติกรรมการติดโทรศัพท์มือถือ

ผู้แต่ง

  • นัสรินทร์ แซสะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • นูรีหล๊ะ ดอเลาะ บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 16

คำสำคัญ:

ผลกระทบ, พฤติกรรม, โทรศัพท์มือถือ

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสังคม ของเด็กที่มีพฤติกรรมการติดโทรศัพท์มือถือ ในพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านไอสะเตีย ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็ก ที่มีอายุ 11-12 ปี จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยลงพื้นที่ศึกษาชุมชน แบบสำรวจประเด็นปัญหาและแบบสำรวจผลกระทบของพฤติกรรมการติดโทรศัพท์มือถือ  และแบบสัมภาษณ์  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เป็นค่าเฉลี่ย/ร้อยละ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยใช้เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูล

            ผลการศึกษา พบว่า เด็กที่มีอายุ 11-12 ปี ร้อยละ 63 ใช้โทรศัพท์ของตนเอง ร้อยละ 37 ใช้โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือ 1-2 ชั่วโมง  ร้อยละ 73 ระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือ
3-4 ชั่วโมง ร้อยละ 23 และมากกว่า 6 ชั่วโมง ร้อยละ 4  ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการดูยูทูป  เล่นเกมส์ ร้อยละ 86.7  ผลกระทบด้านสุขภาพกายของเด็กที่มีพฤติกรรมการติดโทรศัพท์มือถือ ทานข้าวน้อย ไม่อาบน้ำ ร้อยละ 35 รองลงมา ปวดศีรษะ ร้อยละ 17 เจ็บกล้ามเนื้อหลัง ร้อยละ 13 และร่างกายอ่อนเพลียพักผ่อนน้อย
มีปัญหาสายตา ร้อยละ 9   ผลกระทบด้านสุขภาพจิต มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจ ร้อยละ 43 รองลงมาก้าวร้าว ร้อยละ 21  และผลกระบทด้านสังคม ร้อยละ 90 ไม่ออกไปเล่นกับเพื่อน อยู่คนเดียว ร้อยละ 7
ขาดความรับผิดชอบ และร้อยละ 3 ไม่กล้าแสดงออก

            จะเห็นได้ว่า จากการเล่นโทรศัพท์มือถือของเด็กนั้น มีผลกระทบต่อเด็กในหลากหลายด้าน โดยมิอาจมองข้ามหรือมองว่าเป็นเรื่องปกติได้ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสังคม ผลกระทบเหล่านี้หากสะสมเป็นระยะเวลานานอาจก่อเกิดปัญหามากมายเกิดขึ้นตามมา เช่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาด้านพัฒนาการของเด็ก การเรียนรู้ของเด็ก ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น ดังนั้นการหาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน นับว่าเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงระบบนิเวศทางสังคมที่ใกล้ชิดและเข้าใจเด็กมากที่สุด ร่วมกันหาทางแก้ไข จะช่วยลดปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็กสู่การเล่นโทรศัพท์มือถืออย่างสร้างสรรค์ได้

Author Biography

นูรีหล๊ะ ดอเลาะ, บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 16

บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 16

   

 

 

References

ผู้จัดการออนไลน์. (2562, 20 มกราคม). อันตรายจากโทรศัพท์มือถือที่(เผื่อ)คุณพ่อคุณแม่ยังไม่รู้. [บล๊อก]. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28471.

กองสถิติเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สรุปผลที่สำคัญสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนพ.ศ.2563, ม.ป.ท : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

นันทวรรณ ผ่องมณี. (2555, 21 พฤศจิกายน). ผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือ. [บล๊อก] สืบค้นจาก http://www.ns.mahidol.ac.thenglish/th/degree_bns/km_mobile.html

รัตนา สิงห์โต และคณะ (2562). ภัยเงียบที่อาจเกิดแก่ทารกแรกเกิดจากโทรศัพท์มือถือ.... ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าตามแก้ทีหลัง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 12(2), 1-11.

ราณี วงศ์เดช และคณะ (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อของเด็ยุคศตวรรษที่21. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(2), 26-36.

วรเชษฐ์ โทอื้น (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุและแนวทางป้องกันพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมต่อการใช้โทรศัพท์มือถือ ของนักศึกษาวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร เพื่อการครองตนตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 4760-4770.

โสภณา จิรวงศ์นุสรณ และคณะ (2561). อันตรายที่แฝงมากับโทรศัพท์มือถือ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(1), 164-177.

อมรรัตน์ วงศ์โสภา และคณะ (2558). พฤติกรรมการใช้และผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊คต่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 10(33), 1-10.

เอื้อมทิพย์ ศรีทอง (2562). ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักศึกษา สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(ฉบับพิเศษ), 26-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022

How to Cite

แซสะ น., & ดอเลาะ น. (2022). ผลกระทบด้านกาย จิต สังคม ของเด็กที่มีพฤติกรรมการติดโทรศัพท์มือถือ. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2), 30–56. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/257405