พลังของวรรณคดีคลาสสิคตะวันออกในบริบทโลกาภิวัตน์: สามก๊ก หรือ ซังเกียว เยียนอี่ ในบริบทสังคมและวรรณกรรมไทย
คำสำคัญ:
การดัดแปลง, พงศาวดารจีน, วรรณกรรมจินตนิยมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์พลังของวรรณคดีคลาสสิคตะวันออกเรื่องสามก๊กในสังคมไทยปัจจุบัน อิทธิพลของวรรณคดีเรื่องนี้ต่อวงการวรรณกรรมไทยและสังคม วรรณคดีเรื่องสามก๊กแปลเป็นภาษาไทยในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และได้รับการยอมรับเป็นหนึ่งในวรรณคดีเอกของไทย ไม่ใช่เพียงในฐานะพงศาวดารจีนหรือตำรายุทธศาสตร์ทางการทหารเท่านั้น แต่ยังเป็นวรรณคดีต้นแบบทำให้เกิดวรรณกรรมไทยหลากหลายรูปแบบ หนังสือการ์ตูน จิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์แอนิเมชั่น เวปไซต์และวีดีโอเกม สามก๊กเป็นวรรณคดีที่มีชื่อเสียงในด้านยุทธศาสตร์ทางการทหาร ในสังคมไทยมีสำนวนซึ่งแสดงถึงพลังของเรื่องสามก๊กว่า “หากอ่านสามก๊กเกินสามครั้งเป็นคนคบไม่ได้” และถ้ายังไม่เคยอ่านสามก๊ก จะคิดทำการใหญ่ไม่ได้ วรรณคดีเรื่องนี้ทรงพลังและสร้างแรงบันดาลใจให้นักเขียนไทยสร้างสรรค์สามก๊กสำนวนของตนเอง เช่น สามก๊ก ฉบับวณิพก ของ ยาขอบ (โชติ แพร่พันธุ์) สามก๊กฉบับนายทุน ของ อดีตนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และยังมีฉบับอ่านง่ายและฉบับดัดแปลงทั้งในรูปแบบสารคดี นวนิยายและเรื่องสั้น ในยุคสมัยใหม่ มีการนำเรื่องสามก๊กไปดัดแปลงและปรับประยุกต์เป็นศิลปะและสื่อหลากหลายรูปแบบ อาทิ การ์ตูน วีดีโอเกม เกมออนไลน์ เวปไซต์ ศิลปะการแสดง งิ้วเสียดสีการเมืองและภาพจิตรกรรมฝาผนัง ผลกระทบและอิทธิพลของเรื่องสามก๊กจะเห็นได้จากการเกิดแฟนคลับสามก๊กและการสร้างอุทยานสามก๊กของมหาเศรษฐีคนไทยเชื้อสายจีนที่จังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นจุดสำคัญทางการท่องเที่ยวที่ต้องแวะไปชม
References
2.Chantornwong, Sombat. Bot Phichan waa duay Wannakam Kanmuang lae Prawattisat ( Critiques on Political literature and History) Bangkok: Kobfai, 2004.
3.Dilokwanich, Malinee. “Samkok: A Study of a Thai Adaptation of a Chinese Novel” Ph.D. Dissertation, University of Washington, 1988.
4.Manomaiphiboon, Praphin. Samkok: A Comparative Study. Master Degree Thesis, Faculty of Arts, Chulalongkorn University, 1966.
5.Phattanothai, Wanwai. Samkok. A New Translated Version. 31 Volumes. Bangkok: Center for Publishing, 1987.
6.Sangiumpornpanichya, Manit. “Leadership and Management as Reflected in the Romance of the Three Kingdoms”
Master Degree Thesis, Department of Government, Faculty of Political Sciences, Chulalongkorn University, 1979.
7.Tanasillapagul, Sarawut. “Political Philosophy in Romance of the Three Kingdoms: On Justice” Master Degree Thesis, Department of Government, Faculty of Political Sciences, Chulalongkorn University, 1999.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This article has been published in the Journal of Humanities and Social Sciences at Prince of Songkla University, Pattani Campus.