การประเมินผลโครงการ “พี่สอนน้อง”: แนวทางการพัฒนานักเรียน นายเรือตามนโยบายกองทัพเรือใสสะอาด
คำสำคัญ:
โรงเรียนนายเรือ, การประเมินแบบ ทดสอบภาษาอังกฤษแบบอเมริกันบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการฯและตอบสนองนโยบาย กองทัพเรือใสสะอาด
ในการสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพ “โตไปไม่โกง” เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนนายเรือได้มีทักษะภาษาอังกฤษเป็น
ไปตามเกณฑ์ที่กองทัพเรือกำาหนด และเพื่อเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษของตนเองเพิ่มขึ้น โดยอยู่ในความดูแล
ของพี่เลี้ยงคือนักเรียนนายเรือรุ่นพี่ที่มีทักษะภาษาอังกฤษค่อนข้างดี เป็นครูผู้สอน เพื่อให้นักเรียนนายเรือ
ได้ฝึกการเป็นผู้นำา ได้ฝึกกระบวนการทางความคิดที่จะช่วย พัฒนารุ่นน้องให้มีความรู้ความสามารถ ผ่านเกณฑ์
การประเมินตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ของแต่ละชั้นปี ผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ตลอดจน
นักเรียนนายเรือผู้ที่จะจบการศึกษาเป็นนายทหารหลักของกองทัพเรือเป็นผู้มีทักษะทางภาษาที่ดี สามารถ
สื่อสาร ใช้ภาษาอังกฤษได้ตามมาตรฐานสากล โดยใช้เครื่องมือ CIPP Model ของ แดเนียล สตัฟเฟิลบีม
มาเป็นแนวทางการประเมินผลโครงการฯ ดังกล่าว ผลการประเมินเป็นไปตามแนวนโยบายที่กองทัพเรือ
กำาหนด ทำาให้นักเรียนนายเรือมีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษตลอดจนเป็นผู้นำาในการเป็น “พี่สอนน้อง”
ผลจากการวิจัย ทั้ง 4 ด้านพบว่าด้านสภาพแวดล้อม นักเรียนนายเรือมีผลคะแนนการทดสอบฯ ผ่านเกณฑ์
การประเมินแบบทดสอบภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน (American Language Course Placement Test :
ALCPT) ผ่านตามมาตรฐานที่กำาหนดของแต่ละชั้นปี ด้านปัจจัยเบื้องต้น โครงการฯ ได้รับการสนับสนุน
งบประมาน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ จากโรงเรียนนายเรือเป็นอย่างดี ด้านกระบวนการดำาเนินงาน การวางแผน
การจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ และการประเมินผลการจัดกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่าการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของโครงการพี่สอนน้องทำาให้นักเรียนนาย
เรือมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้โรงเรียนนายเรือควรส่งเสริมด้านสภาพแวดล้อม เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับนักเรียนนายเรือในการ
เรียนการสอนผ่านรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ที่หลาก
หลายอันจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะและ
คะแนนผลการทดสอบฯ โรงเรียนนายเรือควรส่ง
เสริมด้านปัจจัยเบื้องต้นโดยโรงเรียนนายเรือควร
สนับสนุนงบประมาน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ อย่างต่อ
เนื่องลงในแผนงบประมาณประจำาปี โรงเรียนนาย
เรือควรส่งเสริมด้านกระบวนการดำาเนินงานโดย
โรงเรียนนายเรือควรดำาเนินการวางแผน การจัด
กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผลการ
จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องลงในช่องทางการสื่อสาร
ของโรงเรียนนายเรือทุกช่องทาง และโรงเรียนนาย
เรือควรส่งเสริมโครงการฯ ให้เกิดการบูรณาการ
กิจกรรมการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษไว้ใน
แผนยุทธศาสตร์แผนงานด้านการจัดการเรียนการ
สอนในวิชาภาษาอังกฤษแบบบูรณาการในทุกๆ วิชา