ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของครัวเรือนผู้สูงอายุไทย
คำสำคัญ:
ครัวเรือนผู้สูงอายุ, ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ, ปัจจัยกำหนดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยสามประการ ประกอบด้วย เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ รายได้รวม ค่าใช้จ่ายรวม และค่าใช้จ่ายด้านอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบของครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุและครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูงอายุ อีกทั้งต้องการศึกษาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของครัวเรือนที่มีและไม่มีผู้สูงอายุโดยพิจารณาความเหลื่อมล้ำของรายได้รวม ค่าใช้จ่ายรวม และค่าใช้จ่ายด้านอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ และต้องการศึกษาปัจจัยกำหนดค่าใช้จ่ายรวมของครัวเรือนทั้งสองประเภทโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิของโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี พ.ศ. 2548 2549 2550 2553 2555 และ 2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุจะมีระดับของรายได้รวมเฉลี่ยและค่าใช้จ่ายรวมเฉลี่ยที่ต่ำกว่าครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูงอายุ แต่ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุนั้นมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสังคมที่สูงกว่าครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูงอายุ ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุมีแนวโน้มของความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยตลอดช่วงระยะเวลาที่ศึกษาและมีขนาดที่สูงกว่าครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูงอายุเล็กน้อย ในขณะที่ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุมีแนวโน้มของความเหลื่อมล้ำทางด้านค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันแต่ไม่แตกต่างจากครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูงอายุเท่าใดนัก สำหรับปัจจัยที่กำหนดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน เขตที่อยู่อาศัยของครัวเรือน ขนาดของครัวเรือน รายได้ของครัวเรือน สัดส่วนของผู้มีงานทำในครัวเรือน และ อัตราส่วนพึ่งพิงของครัวเรือน
References
จารุวรรณ จันใส. (2539). การวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคอาหารของครัวเรือนไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ปิลันธนา มูลชนะ. (2549). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบแบบแผนการบริโภคของภาคครัวเรือนไทยช่วงก่อนและหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี2540. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).
พชรภัทร ศิวพรอนันต์. (2562). การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของภาคครัวเรือนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
พิณพร ยุรยาตร์. (2543). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะการบริโภคอาหารในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
รัชพันธุ์ เชยจิตร. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). ความเหลื่อมล้ำของค่าใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มของครัวเรือนไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 12(2), 102-120.
รัชพันธุ์ เชยจิตร และ บุย ทิ มิ ตัม. (2559, มกราคม-มิถุนายน). ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของครัวเรือนในประเทศเวียดนามและประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(15), 101-117.
รัชพันธุ์ เชยจิตร และ รติพร ถึงฝั่ง. (2557). การศึกษาค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนยากจนในประเทศไทย. วารสารพัฒนาสังคม, 16(2/2557), 47-64.
สมประวิณ มันประเสริฐ. (2553). การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีต่อแบบแผนการบริโภคของครัวเรือนไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมยศ ประจันบาล และ เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่าย ของครัวเรือนไทย ปี พ.ศ. 2548-2555. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร, 18(1), 1-34.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2552). รายงานการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: กองคลังข้อมูลและสนเทศสถิติ.
Moro, D., & Sckokai, P. (2000). Heterogeneous preferences in household food consumption in Italy. European Review of Agricultural Economics, 27(3), 305–323, https://doi.org/10.1093/erae/27.3.305
Molina, J. A., & Gil, A. I. (2005). The Demand Behavior of Consumers in Peru: A Demographic Analysis Using the QUAIDS. The Journal of Developing Areas, 39(1), 191-206. doi:10.1353/jda.2005.0038.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Peerawat Setthapanich, Ratchapan Choiejit

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว