การพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกผู้ส่งมอบอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
เกณฑ์การคัดเลือกผู้ส่งมอบ, การคัดเลือกผู้ส่งมอบอย่างยั่งยืน, ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, การวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น, เอเอชพีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญสำหรับการคัดเลือกผู้ส่งมอบอย่างยั่งยืนของกรณีศึกษาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง งานวิจัยครั้งนี้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analysis Hierarchy Process: AHP) เพื่อหาค่าน้ำหนักความสำคัญของเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกผู้ส่งมอบอย่างยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านเศรษฐกิจ เกณฑ์หลักที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ ด้านราคา (ร้อยละ 36.1) รองลงมาคือด้านคุณภาพ (ร้อยละ 23.3) ด้านการบริการ (ร้อยละ 14.3) และด้านความน่าเชื่อถือของบริษัท (ร้อยละ 10.3) ตามลำดับ 2) ด้านสิ่งแวดล้อม เกณฑ์หลักที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการจัดการด้านมลพิษ (ร้อยละ 5.5) รองลงมาคือด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 4.2) ตามลำดับ 3) ด้านสังคม เกณฑ์หลักที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ ด้านการปฏิบัติต่อพนักงาน (ร้อยละ 3.4) รองลงมาคือด้านความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ร้อยละ 2.9) นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์เชิงลำดับความสำคัญของเกณฑ์แบบครอบคลุมจากทั้งหมด 24 เกณฑ์ พบว่าเกณฑ์ที่มีค่าน้ำหนักความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ ด้านราคาของสินค้า (ร้อยละ 30.17) รองลงมาคือด้านสินค้าตรงตามข้อกำหนด/ข้อตกลง (ร้อยละ 16.54) และด้านเงื่อนไขการชำระเงิน (ร้อยละ 5.91) ตามลำดับ ซึ่งบริษัทกรณีศึกษามีการให้ค่าน้ำหนักความสำคัญโดยรวมต่อมุมมองด้านเศรษฐกิจมากที่สุด (ร้อยละ 84) ด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 10) และด้านสังคม (ร้อยละ 6) ตามลำดับ เกณฑ์ที่ได้จากงานวิจัยในครั้งนี้สามารถกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ส่งมอบตามแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและปรับปรุงแบบประเมินในการคัดเลือกผู้ส่งมอบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
กิตติศักดิ์ ขอพึ่ง และพัชราภรณ์ ญาณภิรัต. (2561). การออกแบบหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ส่งมอบอย่างยั่งยืนสาหรับอุตสาหกรรมยานยนต์โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ปัจจัย. ในการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ อุบลราชธานี ประจำปี พ.ศ. 2561, (น.23-26).
ชญานิศ วงษ์ท้าว. (2560). การตัดสินใจคัดเลือกผู้ส่งมอบด้วยการประยุกต์กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์และการโปรแกรมเป้าหมาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
พีรยสถ์ อยู่ประพัฒน์. (2563). การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(10), 480-494.
สถาพร โอภาสานนท์. (2559). การตัดสินใจแบบพิจารณาหลายเกณฑ์สำหรับธุรกิจและการจัดการโลจิสติกส์: ทฤษฎีและการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุเทพ นิ่มสาย, ณัฐพล รังสฤษฏ์วรการ และสหรัตถ์ อารีราษฎร (2562). โซ่อุปทานสีเขียว: นวัตกรรมเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://progreenecon.files.wordpress.com/2019/04/green-logistics-suthep-et-al-version-6-dec.pdf
สมพงษ์ เหมบุตร. (2560). การศึกษาเกณฑ์การคัดเลือกผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ยั่งยืนของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ตามแนวทาง Triple Bottom Line (TBL). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2566). สรุปสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่สู่เป้าหมายเศรษฐกิจยั่งยืน. สืบค้นจาก http://iiu.oie.go.th/images/document/pdf/20230311135311.pdf
อนันตชัย ยูรประถม. (2556). แนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรม: เทคโนโลยี (พิมพ์ครั้งที่ 3.). กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
Gupta, S., (2019). Green supplier selection using multi-criterion decision making under fuzzy environment: A case study in automotive industry. Computers & Industrial Engineering Journal, 136, 663-668.
Hendiani, S. (2020). A multi-stage multi-criteria hierarchical decision-making approach for sustainable supplier selection. Applied Soft Computing Journal, 9(23), 120-135.
Hoseini, S. (2021). Sustainable Supplier Selection in Construction Industry through Hybrid Fuzzy-Based Approaches. Sustainability, 13(3). 1-19.
Jain, V., Sangaiah, A., et al. (2018). Supplier selection using fuzzy AHP and TOPSIS: a case study in the Indian automotive industry. Neural Computing & Application, 29, 555-564.
Jayant, A. (2018). An analytical hierarchy process (AHP) based approach for supplier selection: An automotive industry case study. International Journal of Business Insights & Transformation, 11(1), 36-45.
Memari, A., Dargi, A., Jokar, M. R. A., Ahmad, R., & Rahim, A. R. A. (2019). Sustainable supplier selection: A multi-criteria intuitionistic fuzzy TOPSIS method. Journal of Manufacturing Systems, 50, 9-24.
Saaty, T. L. (2008). Decision making with the analytic hierarchy process. International Journal of Services Sciences, 1(1), 83-98.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Puksorn Chonviriyakun, Juthathip Suraraksa

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว