ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเกี่ยวกับความรู้ทางด้านบัญชี เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
คำสำคัญ:
การเพิ่มศักยภาพ, สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านบุคคลและด้านองค์กร ที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เกี่ยวกับความรู้ทางด้านบัญชี เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 330 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test, one-way ANOVA และวิธีของ LSD (Least Significant Difference) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและใช้วิธีการทางสถิติแบบพรรณนา ใน การแปลผลและนำเสนอ พบว่า บุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุไม่เกิน 35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงาน 6-10 ปี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านองค์กรอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นด้านบุคคล พบว่า บุคลากรสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพ ไม่แตกต่างกัน 2. ความคิดเห็นด้านองค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
References
โกศล สนิทวงศ์. (2556). บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การเชิงกลยุทธ์. สืบค้นจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=hrdlearning&month=01-2013&date=30&group=1&gblog=2
จรินพงษ์ แดงจิ๋ว. (2555, เมษายน-มิถุนายน). AEC ผลกระทบต่อสตง. วารสารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, (2).
จีระ หงส์ลดารมภ์. (2556). บทบาทของภาครัฐเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้นจาก http://www.arit.rmutt.ac.th/index.php?option=comrokdownloads&view= file&task=download&id=82%3Antu4&Itemid=43
ทัศนพันธ์ พงษ์เภตรา. (2545). ความต้องการการพัฒนาบุคลากรของสำนักตรวจราชการในการสนับสนุนการตรวจราชการระดับสำนักนายกรัฐมนตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย บูรพา).
นงลักษณ์ ศิริพิศ และคณะ. (2555). ปัจจัยที่ผลต่อความพร้อมของนักบัญชีไทยกับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AEC). (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.hu.ac.th/Symposium2014 /proceedings/data/09_Human%20and%20Social/09_Human%20and%20Social-28.pdf
นฤมล สุมรรคา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาสถานประกอบการ จังหวัดสระบุรี. สืบค้นจาก http://www.repository. rmutt.ac.th/bitstream/handle/123456789/707/124297.pdf?sequence=1
วีระยุทธ สุขมาก. (2557, มิถุนายน). ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). RMUTT Global Business and Economics Review, 9(2), 78-93.
ศิราภา รุ่งสว่าง. (2555). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก http://www.ex-mba.buu.ac.th/ Research%202556/Research_Bangkok/Y-MBA%201/53721674/02_abs.pdf
สมจิตต์ จรกา. (2548). ความต้องการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการสำนักงบประมาณ. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2549). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency based learning. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ่งแอนด์พับลิซซิ่ง.
เสรี พงศ์พิศ. (2547). ร้อยค าที่ควรรู้. สืบค้นจาก http://www.nice.nu.ac.th/nice/information_people.php
อริยา อาจละสุทธิ์. (2551). การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในระบบราชการตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่. สืบค้นจาก http://www.gspa.ru.ac.th/downloads/doc/d024.doc
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2548). Competency dictionary. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซนเตอร์.
Covey, S. (2001). The 7 habits of highly effective people. New York: Simon and Suhuster.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว