การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับคุณลักษณะของอัตราความเร็วในการยอมรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
ตัวชี้วัด, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, การยอมรับนวัตกรรมบทคัดย่อ
บทความนี้น่าเสนอการสร้างตัวชี้วัดเพื่อนำมาใช้วัดอัตราความเร็วในการยอมรับการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวัดเป็นประชาชนที่อยู่ในจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการวิจัยโดยการจัดเก็บข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน ดำเนินการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยวิธีการ Principal และหมุนแกนด้วยวิธี Varimax เมื่อได้ปัจจัยที่ต้องการแล้วนำปัจจัยที่ต้องการมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลลัพธ์คือ สามารถสกัดองค์ประกอบได้สี่ องค์ประกอบ คือ ผลลัพธ์ที่สังเกตเห็น ประโยชน์เชิงเปรียบเทียบ ความซับซ้อน ความเข้ากันได้ เมื่อนำองค์ประกอบที่ได้ไปทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า โมเดลที่ได้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
References
ASEAN Secretariat. (n.d.). Overview ( ASEAN secretariat). Retrieved from http://www.asean.org/asean/about-asean
Merriam-Webster, Incorporated. (n.d.). Invovation. Retrieved from http://www.merriam- webster.com/dictionary/innovation
Rogers, E. M. (1983). DIFFUSION of innovations (3rd ed.). New York: The Free Press.
Rogers, E. M. (1995). Diffusion of innovations. New York: The Free Press
กัลยา วาณิยช์บัญชา. (2551). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญพิมล กีรติขจร. (2545). การยอมรับการปรับเปลี่ยนเปนองค์การมหาชนของขาราชการกรมวิทยา-ศาสตรการแพทย. (วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง. (ม.ป.ป.). ประกาศเรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรแยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555. สืบค้นจาก http://www.stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจติรวรรณา และ ภิญโญภานุวัฒน์ ภิญโญภานุวัฒน.์ (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: มิสชั่นมีเดีย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว