การกำหนดอัตราราคาห้องพักโรงแรมและรีสอร์ทตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันตกตามทฤษฏีการเคลื่อนไหวราคา

ผู้แต่ง

  • วีรวัลย์ ปิ่นชุมพลแสง วิทยาลัยนวัตกรรมการจดัการ มหาวิทยาลยัเทคโนโลยรีาชมงคลรัตนโกสินทร์
  • กอบกูล จันทรโคลิกา วิทยาลัยนวัตกรรมการจดัการ มหาวิทยาลยัเทคโนโลยรีาชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

อัตราราคาที่พัก, การเคลื่อนไหวราคา, โรงแรมชายฝั่งทะเลตะวันตก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีขึ้นเพื่อศึกษา การกำหนดราคาที่พักโรงแรมและรีสอร์ทของประเทศไทยตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันตกด้วยวิธี Hedonic pricing โดยใช้อัตราราคาห้องพักสำหรับการพักหนึ่งคืนสำหรับห้องเตียงคู่ และเตียงเดี่ยว ณ ช่วงระยะเวลา 5 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปีพ.ศ. 2559 ถึง ไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ.2560 การกำหนดการตั้งราคาของโรงแรมซึ่งเป็นการศึกษาทางด้านอุปทานของผู้ประกอบการโรงแรม (Supply side) การศึกษามุ่งทดสอบผลของการเลือกคุณลักษณะของโรงแรมตามอัตราค่าที่พักในโรงแรมและรีสอร์ ทตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันตก และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดราคาที่พักโรงแรมและรีสอร์ทของ ประเทศไทยตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันตก โดยแบ่งปัจจัยเป็น 3 กลุ่มปัจจัยได้แก่ คุณลักษณะสิ่งอำนวยความสะดวกเสริม (Accessibility characteristics) คุณลักษณะโครงสร้าง (Structural characteristics) และคุณลักษณะรอบตัวโรงแรม (Neighborhood characteristics) พบว่า ระดับดาวสูง ระยะช่วงฤดูกาล ท่องเที่ยวที่สูง คะแนนรีวิวต่ำ คะแนนผู้เข้าช่วงเว็บสูง ระยะจากตัวโรงแรมถึงตัวเมืองย่านชุมชนน้อย ประเภท ห้องพัก ขนาดตารางเมตรห้อง บริการฟรีอินเตอร์เน็ต จำนวนเตียงใหญ่ ห้องที่มีวิวทะเล บริการไดร์เป่าผม บริการหนังสือพิมพ์ ตัวโรงแรมอยู่ติดทะเลชายหาด บริการนวดสปา บริการห้องเซาว์น่า บริการห้อง ประชุมสัมมนา ที่มีผลต่อการกำหนดราคาที่พักชายฝั่งทะเลตะวันตก และเมื่อพิจารณาด้านผู้ประกอบการ โรงแรมจะให้ข้อมูลไม่สมมาตร (Asymmetric information) ผู้เข้าพักจะไม่สามารถได้รับข่าวสารข้อมูล เกี่ยวกับโรงแรมตามที่ผู้ประกอบการโรงแรมนำเสนออย่างสมบูรณ์ ข้อมูลที่ได้รับแอบแฝง (Hidden information) จนเกิดปัญหา Adverse selection คือไม่สามารถจะทราบถึงคุณสมบัติที่สมบูรณ์ของโรงแรม แนวทางการแก้ไขโดยพิจารณาการส่งสัญญาณ (Signaling) จากระดับดาวของการกำหนดมาตรฐานโรงแรม โดยมูลนิธิมาตรฐานโรงแรมไทย กรมการปกครอง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และฤดูกาลการท่องเที่ยว โดยกำหนดราคาที่พักวันธรรมดาและวันหยุด

References

กรมเศรษฐกิจการคลัง (2556). เศรษฐกิจภาคตะวันตก : ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กรมเศรษฐกิจการคลัง.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2542). การท่องเที่ยวตามถนนเลียบชายฝั่งตะวันตก. สืบค้นจาก http://www.drr.go.th/sites/default/files/attachment/vi_travel/7_west_gulf_road_coa st.pdf/online

การท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวง. (2558). แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ฐานเศรษฐกิจ.(2559). ปี’59 ธุรกิจโรงแรมเติบโตร้อยละ 4.7-6.0 การลงทุนต่างจังหวัดขยายตัว. สืบค้นจาก http://www.thansettakij.com/2016/03/02/34817/online/

Andersson, D.E. (2010). Hotel attributes and hedonic prices: an analysis of internet-based transactions in Singapore’s market for hotel rooms. Annals of Regional Science, 44, 229-240.

Andersson, F. (2013). Determining room rates in sweden-a hedonic prices approach of the Stockholm Hotel Market. (Master Thesis, School of Economics and Management, Department of Economics, Lund University).

Chen, C., & Rothschild, R. (2010). An application of hedonic pricing analysis to the case of hotel rooms in Taipei. Tourism Economics, 16, 685-694.

Espinet, J.M., Saez, M., Coenders, G., & Fluvia, M. (2003). Effect on prices of the attributes of Holiday Hotels: a hedonic prices approach, Tourism Economics, 9, 165-177.

Fleischer, A. (2012). A room with a view-a valuation of the mediterranean sea view. Tourism Management, 33, 598-602.

Goodman, A.C. (1998). Andrew court and the invention of hedonic price analysis. Journal of Economics, 44, 291-298.

Ironmonger, D.S. (1975). Consumer demand: a new approach. Economics, 42, 212-213.

Israeli, A.A. (2002). Star rating and corporate affiliation: their influence on room price and performance of hotels in Israel. International Journals of Hospitality Management, 21, 405-424.

Kotler, P., Bowen, J., & Makens, J. (2010). Marketing for hospitality and tourism (5th Ed.) New Jersey: Pearson.

Lancaster, K.J. (1966). A new approach to consumer theory. Journal of Political Economy, 74, 132-157.

Monty, B., & Skidmore, M. (2003). Hedonic pricing and willingness to pay for bed and breakfast amenities in Southeast Wisconsin. Journal of Travel Research, 42, 195- 199.

Rosen, S. (1974). Hedonic prices and implicit markets: product differentiation in pure competition. Journal of Political Economy, 82, 34-55.

Studenmund, A.H. (2011). Using Econometrics: A Practical Guide (6th Ed.). Pearson, Boston, Mass.

Thrane, C. (2005). Hedonic price models and sun-and-beach package tours: The Norwegian Case. Journal of Travel Research, 43, 302-308.

Thrane, C. (2007). Examining the determinants of room rates for Hotels in Capital cities: the oslo experience. Journal of Revenue and Pricing Management, 5, 315-323.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29

How to Cite

ปิ่นชุมพลแสง ว.; จันทรโคลิกา ก. การกำหนดอัตราราคาห้องพักโรงแรมและรีสอร์ทตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันตกตามทฤษฏีการเคลื่อนไหวราคา. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 12, n. 2, p. 173–188, 2017. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/241931. Acesso em: 15 เม.ย. 2025.