การตลาดแบบองค์รวมของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ ของประเทศไทยในมุมมองของนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า มหาวิทยาลัยธรุกิจบัณฑิตย์
  • ประจักษ์ ปฏิทัศน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การตลาดแบบองค์รวม, การตลาดภายในองค์กร, การตลาดแบบบูรณาการ, การตลาดสัมพันธภาพ, การปฏิบัติงานทางการตลาด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัจจัยของการตลาด แบบองค์รวมของมหาวิทยาลัย และศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบการตลาดแบบองค์รวมของมหาวิทยาลัย ในภาคใต้ของประเทศไทยจำนวน 13 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาจำนวน 400 คน แบบสอบถาม สร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน การวิเคราะห์องค์ประกอบและรูปแบบการตลาด แบบองค์รวมมีการประยุกต์ใช้แนวคิดการตลาดแบบองค์รวมที่ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ การตลาด ภายในองค์กร การตลาดแบบบูรณาการ การตลาดสัมพันธภาพและการปฏิบัติงานทางการตลาด ระยะเวลา ดำเนินการเดือนพฤษภาคม 2560 ถึง มิถุนายน 2560 สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้วิเคราะห์ ความคิดเห็นรายข้อ ข้อมูลเชิงประจักษ์นำมาสกัดองค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis: PCF) ผ่านการหมุนแกน (Factor rotation) แบบมุมฉาก (Orthogonal) ด้วยวิธี Varimax โดยใช้รอบการสกัดองค์ประกอบจำนวน 25 รอบ ผลการศึกษาพบปัจจัยที่นักศึกษาเห็นด้วยว่ามหาวิทยาลัยมีการดำเนินการมากที่สุด ได้แก่ การออกบูธ / Roadshow เพื่อทำการแนะแนวข้อมูลกับผู้สนใจเข้าศึกษาโดยตรง ส่วนปัจจัยที่นักศึกษาเห็นด้วย น้อยที่สุด ได้แก่ การมีหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าเรียนได้ในทุกช่วงอายุ การศึกษาครั้งนี้จัดกลุ่ม 7 องค์ประกอบใหม่ และนักศึกษาให้น้ำหนักความสำคัญในประเด็นการตลาดแบบบูรณาการ ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางกำหนดกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้

References

จอย ทองกล่อมสี. (2555). การพัฒนาตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทวัส สัตยารักษ์. (2552). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์มหาวิทยาลัยเอกชน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโรฒ.

วรรณี งามขจรกุลกิจ. (2550) การศึกษารูปแบบและลักษณะของพันธกิจความรับผิดชอบต่อสังคมที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนแบรนด์มหาวิทยาลัยเอกชน. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีปทุม.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2559). ข้อมูลสถิติการศึกษา. สืบค้นจาก www.mua.go.th.

Al-Hawary, S.I., Al-Qudah, A.K., Abutayeh, M.P., Abutayeh, M.S. & Al Zyadat, D.Y. (2013). The Impact of Internal Marketing on Employee’ s Job Satisfaction of Commercial Banks in Jordan Interdisciplinary. Journal of Contemporary Research In Business, 1(1), 1-17.

Anderson, J. C. & Narus, J. A. (1990). A Model of Distributor Firm and Manufacturer Firm Working Partnerships, Journal of Marketing, 54(1), 42-58.

Anderson, E. & Weitz, B. (1989). Determinants of Continuity in Conventional Industrial Channel Dyads. Marketing Science, 8, 310-323.

Anosike, P.U. & Ahmed, P. (2006). Internal marketing: perceptions from theory and practice (pp. 41-49). United Kingdom, UK: university of Wolverhampton.

Ballantyne, D. (2000). The strengths and weaknesses of internal marketing in Varey, R. & Lewis, B. (pp. 274-286). London: Internal Marketig, Directions for Management.

Berry, L.L. & Parasuraman, A. (1991). Marketing services, competing through quality. (pp. 74-86). New York, NY: The Free Press.

Duncan, T. R. & Mulhern, F. (2004). A White Paper on the Status, Scope and Future of IMC. IMC Symposium sponsored by the IMC programs at Northwestern University and University of Denver. (pp. 86-88). United States of America, USA: McGraw-Hill.

Duncan, Tom. (2002). IMC: Using Advertising & Promotion to Build Brands. (pp. 72). New York, NY: McGraw-Hill.

Gray, B.J., Fam, K.S. & Llanes, V.A. (2003). Branding universities in Asian markets. Journal of Product and Brand Management 12(2), 108-120.

Gronroos, C. (1981). Internal marketing- an integral part of marketing theory. In Donnelly, J.H. and George, W.R. (Eds), Marketing of Services. (pp. 236-238), Chicago: American Marketing Association.

Hougaard, S., & Bjerre, M. (2003). Strategic Relationship Marketing. Heidelberg, Germany: Springer-Verlag.

Kotler, P. (2003). A Framework for Marketing Management, Prentice-Hall, Inc, New Jersey: A Pearson Education Company Upper Saddle River.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2015). Marketing management (pp. 6-9), New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P., Roberto, N., & Lee, N. (2002). Social marketing: Improving the quality of life. (pp. 33-39), Thousand Oaks: Sage Publications.

MacLaverty, N., McQuillan P., & Oddie, H. (2007). Internal Branding Best Practices Study. (pp. 40-49 ), Canada: Canadian Marketing Association.

Mazzarol, T. (1998). Success Factors for International Education Marketing. International Journal of Educational Management, 2, 163-175.

Sasser, E.W., & Arbeit, S.P. (1976). Selling Jobs in the Services Sector. Business Horizons, 19(3), 61-65.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). Newyork: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-28

How to Cite

สุวรรณทิพย์ ณ.; พงศ์ยี่หล้า อ.; ปฏิทัศน์ ป. การตลาดแบบองค์รวมของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ ของประเทศไทยในมุมมองของนักศึกษา. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 13, n. 1, p. 13–26, 2018. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/241900. Acesso em: 5 เม.ย. 2025.