การวิเคราะห์เส้นทางสำหรับรายจ่ายส่วนเพิ่มของผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์เส้นทาง, หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, รายจ่ายส่วนเพิ่มบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์เส้นทางสำหรับรายจ่ายส่วนเพิ่มของผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ เพื่อศึกษาถึงข้อเท็จจริงและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกำหนดต่าง ๆ สำหรับรายจ่ายเพิ่มเติมจากการใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามผู้มาใช้บริการที่มีใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตกรุงเทพมหานคร และมีรายจ่ายเพิ่มเติม จำนวน 400 ชุด และนำข้อมูลที่ได้มากทำการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการศึกษาพบว่า การมีประกันสุขภาพแบบอื่นครอบคลุมอยู่ส่งผลทางตรงต่อการเคยต้องมีรายจ่ายเพิ่มเติมในการใช้สิทธิประกันสุขภาพ ส่วนการที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวนั้น ทำให้การไปรักษาไม่ใช่เหตุฉุกเฉินและมักไม่ใช่การเป็นโรคร้ายแรง แต่การเป็นโรคเจ็บป่วยร้ายแรงนั้น ส่งผลทางตรงในทางบวกต่อความเร่งด่วนฉุกเฉินในการรักษา และความเร่งด่วนฉุกเฉินในการเข้ารักษานั้น มีแนวโน้มทำให้ผู้ป่วยได้เคยจ่ายเพิ่มเติมในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ แต่ก็ไม่สามารถสรุปไปยังความสัมพันธ์ต่อขนาดของค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะเคยจ่ายเพิ่มเติมเมื่อจะใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้แก่ กลุ่มที่มีประกันสุขภาพแบบอื่นคุ้มครองอยู่ รวมทั้งกลุ่มที่มีอาการเจ็บป่วยร้ายแรง หรือมีความเร่งด่วนในการเข้ารักษา
References
นนทร์ วรพาณิชช์ และอัครนันท์ คิดสม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีรายจ่ายส่วนเพิ่มของผู้ใช้สิทธิ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการใช้สิทธิการรักษาจริง. วารสารบริหารธุรกิจมหานคร, 17(1), 73-105.
Corrieri , S., Heider, D., Matschinger, H., Lehnert, T., Raum, E.,& König, H. M. (2010). Income, education and gender-relatedinequalities in out-of-pocket health care payments for 65+ patients - a systematicreview. International Journal for Equity in Health, 9(20). Retrieved from https://doi.org/10.1186/1475-9276-9-20
Hajizadeh, M., & Nghiem, H. S. (2011). Out-of-pocket expenditures for hospital care in Iran: who is at risk of incurring catastrophic payments?. International Journal of Health CareFinance and Economics, 11(4), 267-285.
Leive, A., & Xu, K. (2008). Coping with out-of-pocket health payments: empirical evidence from 15 African countries. Bulletin of the World Health Organisation, 86(11). 849-856.
Poulsen, C. A. (2014). Introducing out-of-pocket payment for General Practice in Denmark: Feasibility and Support. Health Policy, 117(1), 64-71.
Séne, L. M., & Cissé, M. (2015). Catastrophic out-of-pocket payments for health and poverty nexus: evidence from Senegal. International Journal of Health Economics and Management, 15(3). Retrieved fromhttps://link.springer.com/article/10.1007/s10754-015-9170-4
Thuan, N. B. T., Lofgren, C., Chuc, N. T. K., Janlert, U., & Lindholm, L. (2006). Household out-of-pocket payments forillness: Evidence from Vietnam. BMC Public Health, 6(283). Retrieved from https://doi.org/10.1186/1471-2458-6-283
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว