การจัดตั้งสถาบันการฝึกอบรมและวิจัยทางธุรกิจ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวของหน่วยงานจากประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พิรุณา สุทธิสรณ์ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี
  • ยอดยิ่ง ธนทวี วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กฤช จรินโท คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

ศูนย์ฝึกอบรม, รูปแบบการเข้าตลาดต่างประเทศ, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการจัดตั้งสถาบันการฝึกอบรมและวิจัยทางธุรกิจของหน่วยงานจากประเทศไทยในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 2) ศึกษาความต้องการและความพร้อมของบุคลากร นักธุรกิจ และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความต้องการฝึกอบรมและวิจัยทางธุรกิจในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคล และใช้ทฤษฎีฐานรากในการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาเป็นรูปแบบแสดงความเชื่อมโยงตามแนวคิดการวิจัย โดยผลการวิจัยสรุปได้ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้มุ่งเน้นในเรื่องการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและที่ปรึกษาทางธุรกิจ โดยองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมประกอบไปด้วย เหตุผลของเหตุผลของความต้องการในการฝึกอบรม ลักษณะโครงการอบรมที่ต้องการ วิธีการเข้ามาจัดตั้งศูนย์ให้เหมาะสมและสำเร็จ และปัญหาและอุปสรรคในการฝึกอบรม นอกจากนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ ระบบการศึกษา เครือข่ายความร่วมมือจากประเทศไทย การฝึกอบรมที่มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และองค์ประกอบเรื่องเงินทุนหรือทุนอุดหนุน ข้อเสนอแนะในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ควรเน้นการสร้างเครือข่ายผู้อุดหนุนเงินทุนในการจัดตั้งและการสร้างพันธมิตรกับพรรครัฐบาล หรืออาจใช้รูปแบบการสร้างร่วมเป็นพันธมิตรกับกระทรวง กรม สมาคมนักธุรกิจลาว และบริษัทเอกชนในลักษณะการจัดทำข้อตกลงร่วมกัน และส่วนของการจัดหลักสูตรฝึกอบรม ควรเน้นหลักสูตรทางด้านการ บริหารจัดการธุรกิจ โดยหลักสูตรที่มีความต้องการฝึกอบรมมากคือ หลักสูตรที่เพิ่มทักษะในด้านการผลิต การบริหารจัดการ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ควบคู่กับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนทัศนคติและสร้างความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองในยุคสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 4.0

References

กรมจัดตั้งและพนักงาน. (2551). กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.นครหลวงเวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.

กรมสามัญศึกษา. (2543). เอกสารการคุ้มครองโรงเรียนประถมศึกษา ส.ป.ป. ลาว. นครหลวงเวียงจันทน์: กรมสามัญศึกษา.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2551). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2554). การจัดการระหว่างประเทศ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนากกลางและขนาดย่อม. (2557). SMEs White Paper Report. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

Czinkota, M. R., & Ronkainen, I. A. (2007). International marketing (6th ed.). Ohio: Fort Worth Harcourt College Publishers.

Hollensen, S. (2007). Global marketing: a decision-oriented approach. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education.

Lowenstein, M., & Spletzer J. (1999). General and specific training: evidence and implications. Journal of Human Resources, 34(4), pp. 710-733.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49–60.

Rugman, A. M., & Verbeke, A. (2003). Extending the theory of the multinational enterprise: internalization and strategic management perspectives. Journal of International Business Studies, 34, 125-137.

Wach, K. (2014). Internationalisation and globalisation as a wider context of europeanisation from micro and macroeconomic perspective. Horyzonty Polityki, 5(10), 11-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30

How to Cite

สุทธิสรณ์ พ.; ธนทวี ย.; จรินโท ก. การจัดตั้งสถาบันการฝึกอบรมและวิจัยทางธุรกิจ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวของหน่วยงานจากประเทศไทย. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 14, n. 2, p. 157–176, 2019. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/241325. Acesso em: 18 เม.ย. 2025.