ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ของผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
การเรียนรู้สื่อเทคโนโลยี, ยุคหลอมรวมเทคโนโลยี, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุและปัจจัยด้านการสนับสนุนเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล การยอมรับเทคโนโลยีและด้านการสนับสนุนเทคโนโลยีส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยวิธีสุ่มด้วยวิธีการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์และเว็บสังคมออนไลน์เป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้สร้างสังคมใหม่และพบเพื่อนใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถแบ่งปันข้อมูลระหว่างเพื่อนสมาชิก ระดับปัจจัยด้านการสนับสนุนเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การให้ความรู้และฝึกทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเข้าถึงและการรู้เท่าทัน ระดับความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ เพื่อติดต่อกับสมาชิกในครอบครัว ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี คือ ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุและปัจจัยด้านการสนับสนุนเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ โดยทั้ง 2 ปัจจัยสามารถอธิบายความมีอิทธิพลได้ร้อยละ 60.00
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). สถิติจำนวนผู้สูงอายุแยกตามจังหวัดและอายุ ปี2561. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/1/159
กันตพล บันทัดทอง. (2557). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคน ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ณรงค์ศักดิ์ ศรีทานันท์. (2553). แนวคิดกำกับสื่อใหม่ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี. สืบค้นจากhttps://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_11/pdf/aw021.pdf
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2557). ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์. สืบค้นจาก https://www.kmutt.ac.th/organization/ssc334/asset1.html
สมาน ลอยฟ้า. (2554, พฤษภาคม – สิงหาคม). ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารสนเทศศาสตร์, 29(2), 57-58.
สำนักงานสถิตินครสวรรค์. (2561). ข้อมูลสถิติจำนวนประชากร จำแนกรายอายุ เพศ และเขตการปกครอง จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ.2560. สืบค้นจาก https://nksawan.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=357&Itemid=536
สุรเดช สำราญจิตต์. (2548, มกราคม – ธันวาคม). วิถีชีวิตของผู้สูงอายุเขตเมืองภาคกลางในประเทศไทย. วารสารรามคำแหง, 25(1), 216.
อัจฉริยา ปราบอริพ่าย. (2552). เทคนิคการวิเคราะห์สถิติโดยใช้โปรแกรม SPSS: ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .
อารีย์ มยังพงษ์ และเกื้อกูล ตาเย็น. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Brown, S. A., & Venkatesh, V. (2005). Model of adoption of technology in the household: a baseline model test and entension incorporating houselold lift cycle. Management Information Systems Quarterly, 29(4).
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use acceptance of information technology. Management Information Systems Quarterly, 13(3). 319-339.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว