ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดฐานสมรรถนะโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 2.1 เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดฐานสมรรถนะโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 2.2เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดฐานสมรรถนะโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนานักศึกษาทุนในโครงการครูรัก (ษ์) ถิ่น กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 105 คน ประกอบด้วยผู้ใช้หลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยโครงการผลิตครูรัก (ษ์) ถิ่น สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 14 คน นักศึกษาทุนโครงการครูรัก (ษ์) ถิ่น รุ่น 1 และรุ่น 2 จำนวน 58 คน และผู้ใช้บัณฑิตประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง และตัวแทนจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดโรงเรียนปลายทางบรรจุในโครงการครูรัก (ษ์) ถิ่น จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบจดบันทึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาความต้องการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิต ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ สมรรถนะด้านการสื่อสาร สมรรถนะด้านการทำงานร่วมกับชุมชน สมรรถนะการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น สมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล สมรรถนะด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน สมรรถนะด้านการเงิน ธุรการและงานพัสดุสำนักงานของโรงเรียน และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยควรเป็นหลักสูตรมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) โดยเน้นสมรรถนะของนักศึกษาในโครงการครูรัก (ษ์) ถิ่นเชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชนโดยจัดกิจกรรมสอดแทรกในรายวิชากลุ่มวิชาเอกเลือกนวัตกรรมเพื่อพัฒนาครูรัก (ษ์) ถิ่น 4 รายวิชา ประกอบด้วย รายวิชาการจัดการเรียนรู้ท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย รายวิชาการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน สังคมในการจัดการศึกษาปฐมวัย รายวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษาและรายวิชาภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ :
องค์การค้ารับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
_______. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน.(2557). กรอบและแนวทางการจัดทำหลักสูตรตามความสามารถ. ค้นเมื่อ กันยายน 15, 2567
จาก http://home.dsd.go.th/techno/trainingsystem.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประวิต เอราวรรณ์. (2558). ระบบการผลิตครูโดยใช้โรงเรียนสุขภาวะเป็นฐาน. วารสารวิชาการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 1 (1), 28-29.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561. เล่มที่ 135 ตอนที่ 33 ก.(N.3-4); (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561).
วรรณภา โคตรพันธ์ และ ณัฐฐิตาภรณ์ ชาตรี. (2567). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสร้าง สื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนของ
นักศึกษาครูในศตวรรษ ที่ 21 โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU, 11 (1), 559-573.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ู21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.
เสาวรส ชูศรี อุทัยวรรณ ดอกพรม สมภัสสร บัวรอด สุรางค์ มันยานนท์ และ อนุนาถ ชื่นจิตร์. (2567). รูปแบบการพัฒนาทักษะการวิจัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อ
สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูรัก (ษ์) ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. Muban Chombueng Rajabhat University
Research Journal (Humanities and Social Science), 12 (1), 215-230.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
______. (2552). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปของการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542- 2551). กรุงเทพ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
Flecky,K. (2011). Foundations of service learning. Jones and Bartlett . Retrieved June 20, 2022,
from http://samples.jbpub.com/9780763759582/59582_CH01 FINAL.pdf.
Kolb, D. (2015). Experiential learning: Experience as the Source of Learning and Development. Pearson Education: New Jersey, USA.