การสร้างการรับรู้กีฬากับความยั่งยืน การสร้างการรับรู้กีฬากับความยั่งยืน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่องการสร้างการรับรู้กีฬากับความยั่งยืน วัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการสร้างการรับรู้กีฬากับความยั่งยืนในการแข่งขันกีฬาระดับชาติและศึกษาการรับรู้กีฬากับความยั่งยืนของผู้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39 การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) แบบเชิงพรรณนา (descriptive research) จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เทคนิคการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการตรวจสอบความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (content validity) โดยการหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (index of item-objective congruence: IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.762
ผลการศึกษาสรุปได้ว่ารูปแบบของการสร้างการรับรู้กีฬากับความยังยืนในการแข่งขันกีฬาระดับชาติ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ประเมินสถานการณ์และเป้าหมายการสร้างการรับรู้กีฬากับความยั่งยืน (Situation analysis and needs assessment : Awareness of Sports Sustainability) ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้กีฬากับความยั่งยืน (Create and Development Activities Awareness of Sports Sustainability) ขั้นตอนที่ 3 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้กีฬากับความยั่งยืน (Create motivation for Learning : Awareness of Sports Sustainability) ขั้นตอนที่ 4 จัดกิจกรรมสร้างการเรียนรู้กีฬากับความยั่งยืน (Sports Sustainability Activity) ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการเรียนรู้ ปรับปรุง และการพัฒนา (Evaluation Improvement and Development)
ผลการศึกษาการรับรู้ด้านกีฬากับความยั่งยืนของผู้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39 มีการรับรู้ด้านกีฬากับความยั่งยืนก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับต่ำ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 37.77 หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างการรับรู้กีฬากับความยังยืนในการแข่งขันกีฬาระดับชาติ มีการรับรู้ในระดับที่สูงขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 79.38 อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายพื้นที่และประชากรให้มากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Dayoun, L. and Sungjoo, P., (2023). A Study of Measures for Sustainable Sport. Sustainability, MDPI, 15 (17), 1-13.
Goldsmith, E., (2009). Blueprint for Survival A Penguin special Goldsmith, Edward, 1928-Signet books. Houghton Mifflin, 1972.
Cornell University.
International Olympic Committee. (2018). Sustainability Essentials. A Series of Practical Guides for The Olympic Movement.
International Olympic Committee. (2024). IOC Sustainability Strategy. Retrieved January 10, 2024,
form https://olympics.com/ioc/sustainability.
Jagemann, H. (2003). Sports and the environment: Ways towards achieving the sustainable development of sport. Paper presented
at the Conference by the 4th Pierre de Coubertin School Forum Arenzano (MUVITA).
Samantha H., David Crundall, Harriet S., and Andrew M,. (2022). Situation Awareness In sports: A scoping review. Journal of the
European Federation of Sport Psychology (FEPSAC), (59), 1-11.
Ulloa-Hernández, M., Farías-Torbidoin, E. and Seguí-Urbaneja, J. (2023). Sporting events and sustainability. A systematic Review
(1964-2020). Apunts Educación Física y Deportes, 153, 101-113. https://doi.org/10.5672/apunts.2014-0983.es.(2023/3).153.09.