ทิศทางการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐไทยและการบริการสาธารณะสมัยใหม่
Main Article Content
Abstract
บทความวิชาการ เรื่อง ทิศทางการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐไทยและการบริการสาธารณะสมัยใหม่มุ่งนำเสนอประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกที่ส่งผลต่อการทำงานของภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงทิศทางการพัฒนาระบบราชการที่สำคัญและกรณีศึกษาในต่างประเทศ ลักษณะสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการบริหารภาครัฐของไทยในบริบทกระแสโลกาภิวัตน์และทิศทางการบริหาร องค์กรภาครัฐไทยและการบริการสาธารณะสมัยใหม่ การบริหารขององค์กรภาครัฐสมัยใหม่จะต้องเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (citizen-centricity) มีความชัดเจนในวิสัยทัศน์และพันธกิจ ประชาชนจะไม่ใช่แค่ลูกค้าผู้รับบริการจากภาครัฐแต่เป็นหุ้นส่วน (partner) เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ (collaborator) และผู้ร่วมผลิต (co-producer) นอกจากนี้ หน่วยงานจะต้องมีความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพภายในและประสิทธิภาพการให้บริการภายนอก มีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ให้บริการได้อย่างมีประสิทธิผล มียุทธศาสตร์ใหม่สำหรับการสร้างการเติบโตและการพัฒนาไขว้กันระหว่างสาขาต่าง ๆ กันมากขึ้น เนื่องจากวาระการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบองค์รวม คุณสมบัติหลักขององค์กรภาครัฐสมัยใหม่จึงต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติสำคัญ คือ มีนวัตกรรมการทำงาน (innovative) มีความสามารถในการทำงานเชิงสร้างสรรค์ มีแนวคิดและรูปแบบการทำงานบริการ และทำให้มีผลกระทบที่ดีในวงกว้าง มีความคล่องตัว ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง (agile) สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานได้ตามสถานการณ์ทั้งในเชิงการปฏิบัติการการตอบสนองเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ มีการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิผล สามารถทำงานร่วมกันข้ามหน่วยงานข้ามประเทศ (connected) สามารถทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ได้ ทั้งระหว่างสาขา ระหว่างประเทศ ระหว่างหน่วยงาน มีความโปร่งใส (transparent) มีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติการและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากในยุคต่อไปนี้จะเป็นยุคแห่งความไว้วางใจและความถูกต้อง การที่องค์กรภาครัฐมีความโปร่งใสจะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการปฏิบัติการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น องค์กรภาครัฐในอนาคตทั่วโลกจะมีการปรับตัวสูงขึ้นเพื่อรองรับกับความท้าทายในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายและซับซ้อน โดยเฉพาะการมีความยืดหยุ่น คล่องตัว ตั้งง่าย ยุบง่าย ใช้เทคโนโลยีเก่ง ทำงานเป็นเครือข่าย มีนวัตกรรม มีความน่าเชื่อถือและโปร่งใส เพื่อสามารถตอบสนองประชาชนในฐานะหุ้นส่วนของการพัฒนาประเทศร่วมกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุมพล หนิมพานิช. (2550). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ หลักการ แนวคิด และกรณีตัวอย่างของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นำพล ม่วงอวยพร. (2561). การขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กรภาครัฐ (M.P.A , D.P.A.). ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 14, 2566
จาก http://rcim.rmutr.ac.th/?p=11572.
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และ ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2559). พัฒนาการการบริหารภาครัฐของไทย : จากอดีตสู่อนาคต. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2563). รายงานการทบทวนบทบาทภาครัฐในอนาคต. เสนอสำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาระบบราชการ.
สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ สำนักงาน ก.พ. (2545). แนวทางการบริหารราชการยุคใหม่ของรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจ และอธิบดี.
กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
สำนักงาน ก.พ.ร. (2547). รายงานประจำปี 2003 ม.ป.ท.
สถาบันอนาคตไทยศึกษา. (2564). future of Government: องค์กรภาครัฐแห่งอนาคต. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 10, 2567,
จาก https://www.thailandfuture.org/post/future-of government.
Choi, D. (2 0 0 1) . A Radical Approach to Regulatory Reform in Korea. Retrieved from OECD: www.oecd.org.
Jacobs, S., and Astrakhan, I. (2006). Effective and Sustainable Regulatory Reform: The Regulatory Guillotine in Three Transition and
Developing Countries. Retrieved May 10, 2567, from Research Gate:https://www.researchgate.net/publication/
_Effective_and_Sustainable _Regulatory_Reform_The_Regulatory_Guillotine_in_Three_Transition_
and_Developing_Countries.