แนวทางการพัฒนากระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์ในสถานการณ์วิถีชีวิตปกติใหม่ของบริษัทถ่ายทำภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหา โอกาส และอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากนโยบายในการดำเนินงานภายในกองถ่ายงานวีดิทัศน์ 2) ศึกษาผลกระทบของนโยบายของรัฐในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลต่อกระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์และธุรกิจกองถ่ายภาพยนตร์ 3) กระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์ และ 4) เสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์ในสถานการณ์วิถีชีวิตปกติใหม่ของบริษัทถ่ายทำภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีตำแหน่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานจัดการภายในกองถ่ายวีดิทัศน์ในกลุ่มงานสื่อในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 25 คน ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า นโยบายที่ภาครัฐประกาศเพื่อควบคุมการดำเนินงานของกองถ่ายที่ผ่านมานั้นไม่สอดคล้องกับมาตรการและรูปแบบการทำงานของกองถ่าย ซึ่งนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมานั้นไม่ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานให้แก่กองถ่ายอย่างชัดเจน นโยบายควบคุมของภาครัฐมีปัญหาเรื่องการสื่อสารและประสานงานระหว่างคนในกองถ่ายและลูกค้า ส่งงาน แก้ไขงาน การประสานงานที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการนัดสถานที่เพื่อประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน กลายเป็นต้องทำการนัดประชุมผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งแต่ละบุคคลที่เข้าร่วมการสนทนาจะอยู่คนละสถานที่และพูดคุยผ่านสื่อออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของแต่ละบุคคลเท่านั้น ส่งผลให้การอธิบายรายละเอียดงานที่ต้องประชุมต้องใช้เวลาในการรอสัญญาณหรืออธิบายรายละเอียดงานให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น กระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์ในสถานการณ์วิถีชีวิตปกติใหม่มีความซับซ้อนมีขั้นตอนการทำงานมากขึ้น ต้องมีการวางแผนการทำงานให้เข้มงวดสอดคล้องกับเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด แนวทางการพัฒนากระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์ ภาครัฐควรปรับปรุงเรื่องกระบวนการและขั้นตอนการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการขออนุญาตดำเนินการถ่ายทำของกองถ่ายให้เร็วมากขึ้น รวมถึงควรให้ความสำคัญกับคนทำงานสายภาพยนตร์ให้เป็นอาชีพที่ชัดเจนและมีมาตรการดูแลเยียวยาจะช่วยลดความเดือดร้อนให้คนทำงานในสายอาชีพนี้ และควรกำหนดมาตรการให้ชัดเจนและประกาศมาตรการให้รวดเร็วทันเหตุการณ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือนมิถุนายน 2564 (ธุรกิจโฆษณา). ค้นเมื่อ ตุลาคม 4, 2567,
จาก ttps://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2564/T26/T26_ 202106.pdf.
กองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ. (2563). สถิติการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย. กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ณิชาปวีณ์ กกกำแหง และ เบญญาทิพย์ ลออโรจน์วงศ์. (2564). ภาพรวมสถานการณ์อุตสาหกรรมสื่อ ปี 2563 และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปี 2564. กรุงเทพฯ :
สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์.
ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล. (2564). แนวปฏิบัติในการดำเนินการขอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์เพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน). (2563). คู่มือการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2564). PwC คาดปี’64 อุตสาหกรรมสื่อ-บันเทิงไทย เฉียด 5.5 แสนล้าน. ค้นเมื่อ ตุลาคม 4, 2567, https://www.prachachat.net/
marketing/news-603003.
พัฒนา ฉินนะโสต. (2560). การศึกษา การถ่ายภาพยนตร์แบบข้ามเส้น 180 องศา กรณีศึกษา : ภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม.
วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มโน วนเวฬุสิต. (2566). การบริหารจัดการกองถ่ายภาพยนตร์ในสถานการณ์ไม่ปกติ: กรณีศึกษาสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19. วารสารดนตรี
และการแสดง, 9 (2), 139-153.
สราวุธ อ้อสูงเนิน. (2558). การพัฒนาภาพยนตร์สั้นเรื่อง inbox. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
โสภณัฐ จาบทอง. (2562). การสร้างสรรค์รายการออนไลน์และกลยุทธ์การสื่อสารของรายการตามใจตุ๊ด. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
สื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2548). ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 13).
นนทบุรี: ผู้แต่ง.
สำนักเลขานุการกรม. (2564). องค์ความรู้ เรื่อง หลักการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์. กลุ่มงานประชาสัมพันธ์สำนักงานเลขานุการกรม กรมสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงาน.
เอกชัย ตรีทอง และอภิชาต ประสิทธิ์สม. (2561). การประเมินความเสี่ยงในการดำเนินงานโครงการก่อสร้างภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 8 (2), 227 – 248.
Parsoya, S. and Perwej, A. (2021). THE IMPACTS OF COVID-19 PANDEMIC ON BUSINESSES AND ECONOMIES: GLOBAL PERSPECTIVES,
Journal of International Business and Economy, 22 (1), 109-126
Wideman M. (2010). Risks in Political Projects :The New Scottish Parliament Building Case Study. AEW Services, Vancouver, BC.