ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

Kamonchanok Pitchayarudsamiman
อนัญญา ประดิษฐปรีชา
ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยในการทำงาน และปัจจัยความผูกพัน
ต่อองค์กรของบุคลากร (2) ระดับความสุขในการทำงานของบุคลากร และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยในการทำงาน และปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี


การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ประชากรคือ บุคลากรสังกัดองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ทำการศึกษาทั้งหมดจำนวน 443 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นแบบขั้นตอน


ผลการศึกษา พบว่า (1) บุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
มีอายุอยู่ในช่วง 41 - 50 ปี สมรสแล้ว และมีบุตร 1-3 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาอนุปริญญา/ปริญญาตรี เทียบเท่า มีตำแหน่งเป็นข้าราชการ/ข้าราชการครูองค์การบริหารส่วนจังหวัด/ลูกจ้างประจำ มีประสบการณ์
การทำงานตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 15,000 - 29,999 บาท (2) ระดับความสุขในการทำงาน
ของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ในระดับมีความสุข (Mean ± S.D.; 72.9 ± 5.5) และ
(3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศหญิง (B: 1.7, 95%CI: 1.1-2.2) ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี (B: 0.8, 95%CI: 0.0-1.5) ตำแหน่งพนักงานจ้างตามภารกิจ/ทั่วไป (B: -1.3,
95%CI: (-2.3)-(-0.4)) รายได้ต่อเดือน 15,000 – 29,999 บาท (B: 0.9, 95%CI: 0.1-1.7) และรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป (B: 1.7, 95%CI: 0.6-2.8) ปัจจัยในการทำงาน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ในที่ทำงาน (B: 3.3,
95%CI: 2.7-3.9) ด้านสวัสดิการและผลตอบแทน (B: 2.1, 95%CI: 1.2-3.0) และด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน (B: 1.7, 95%CI: 1.1-2.4) และปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร ได้แก่ ด้านความรู้สึก (B: 2.4, 95%CI: 1.7-3.1) และด้านการคงอยู่ (B: 0.8, 95%CI: 0.2-1.5) ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ได้ถึงร้อยละ 73.5 (R2 = 0.735) ดังนั้น ผู้บริหารหน่วยงานจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์ของบุคลากรในการอยู่ร่วมกัน ได้แก่ การให้เกียรติและเปิดโอกาสให้บุคลากรพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้น่าอยู่ก็จะทำให้บุคลากรมีความสุขในการทำงานและมีความต้องการ
ที่จะอยู่กับองค์กรนี้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา แสวงดี. (2554). ประมวลหลักปฏิบัติองค์การอนามัยโลกว่าด้วยการสรรหาบุคลากรด้านสุขภาพเข้าทำงานระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์.

กัญจน์ภัส ชูผล. (2559). ความผูกพันต่อองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขายแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

กานต์ชนก แซ่อุ่ย. (2554). ปัจจัยพยากรณ์ภาวะหมดไฟในการทางานของผู้ให้การปรึกษาในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการปรึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ขวัญลดา สุรินทร์. (2556). ความสุขในการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอาเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ชุติมณฑ์ ฟ้าภิญโญ. (2553). ความสุขในการทางานให้กับบริษัทควอลิตี้เซรามิกจากัด ลำปาง. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐนันท์ ฤทธิ์สาเร็จ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน อาเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 17(1), 86 – 99.

ธิดารักษ์ ลือชา และกฤษฎากรณ์ ยูงทอง. (2560). ความสุขในการทางาน : ความหมายและการวัด. วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 19(2), 9 – 18.

นฤมล แสวงผล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

โพสต์ทูเดย์. (2563). BURNOUT IN THE CITY งานวิจัยชี้ชาวกรุงวัยทำงานเกินครึ่งเสี่ยงหมดไฟ. ค้นเมื่อ มีนาคม 21, 2566, จาก https://www.posttoday.com/lifestyle/613654.

วิภาดา แก้วนิยมชัยศรี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของเทศบาลในจังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิรินธร สายสุนทร. (2558). ความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัทแกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 431 – 437.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต กาญจนา ตั้งชลทิพย์ สุภรต์ จรัสสิทธิ์ เฉลิมพล สายประเสริฐ พอตา บุนยตีรณะ และวรรณภา อารีย์. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง Happinometer. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

ศุภวัฒน์ วิรักขะโม. (2553). ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในเทศบาลตำบลหนองเบน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวีณา ไชยแสนย์. (2559). องค์กรแห่งความสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแกดา จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 6(1), 167 – 183.

อภิชาติ ภู่พานิช. (2551). การใช้ดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสานักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Maslow, Abraham H. (1970). Motivation and Personality 2nd. New York: Harper & Row. Newstrom, J.W. and Davis, K. (2002). Organizational behavior: Human behavior at work. New York: McGraw-Hill.