ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบและแนวทางการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวภายในประเทศ ในเขตกรุงเทพมหานคร ภายใต้สภาวะวิกฤต COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีต่อผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 และ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการธุรกิจของแต่ละบริษัทจำแนกตามข้อมูลทั่วไปภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวภายในประเทศในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน ในการวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t–test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศในกรุงเทพมหานคร มีความคิดเห็นต่อผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.25) โดยด้านการตลาดมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเงิน ด้านบุคลากร และด้านการดำเนินงาน ตามลำดับ และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการธุรกิจภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.27) โดยด้านการวางแผนธุรกิจมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารการตลาด ด้านการบริหารจัดการของธุรกิจ และด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามลำดับ และผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศที่มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ และรูปแบบการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการธุรกิจภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนขนาดของธุรกิจ และทุนจดทะเบียนในการดำเนินธุรกิจไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). การระบาดของ COVID-19 ในระลอกที่ 3 ส่งผลกระทบต่อตลาดการท่องเที่ยวไทย. ค้นเมื่อ สิงหาคม 10, 2564,
จาก https://www.mots.go.th/news/category/607.
พุทธพร โคตรภัทร และสมบัติ กาญจนกิจ. (2560). การจัดการธุรกิจนำเที่ยวเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภีมภณ มณีธร. (2564). กลยุทธการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในชวงวิกฤติการแพรระบาดไวรัสโคโรนาของผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรมทองเที่ยวและนันทนาการในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟารอีสเทอรน, 15(3), 1-18.
มติชน. (2564). สถานการณ์ของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ. ค้นเมื่อ สิงหาคม 10, 2564, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3530827.
ศูนย์วิจัยกสิกร. (2564). การระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย. ค้นเมื่อ
สิงหาคม 15, 2564, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business?c=362.
สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กรุงเทพมหานคร. (2564). บริษัทนำเที่ยวภายในประเทศที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวประเภท
บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ กันยายน 21, 2564, จาก https://uthaithani.mots.go.th/news_view.php?nid=561.
อัณณ์ชญากร สมัคร. (2560). การปรับตัวของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเป็นสมาชิกอาเซียน . วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Kumudumali, S.H.T. (2020). Impact of COVID-19 on Tourism Industry: A Review. Retrieved September 8, 2021, from