ประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการจัดการการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 2) ประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 3) เปรียบเทียบประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) กระบวนการจัดการการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานครที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 42 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่รวบรวมได้ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละและค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F-test , (One-way ANOVA), Correlation และ Multiple Regression Analysis
ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด ศึกษาระดับปริญญาตรี ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ และประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายใน 11 – 20 ปี กระบวนการจัดการการตรวจสอบภายใน ด้านการวางแผน (Planning) ด้านการควบคุม (Controlling) ด้านการจัดองค์กร (Organizing) ด้านการเจ้าหน้าที่ (Staffing) และด้านการอำนวยการ (Directing) ภาพรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก ประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ด้านการรับรู้ผลการปฏิบัติงานและการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายใน ด้านความทันเวลา ด้านการนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติ และด้านความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ภาพรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพ มหานครที่ไม่แตกต่างกัน กระบวนการจัดการการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ด้านการเจ้าหน้าที่ (Staffing) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาหน่วยงานควร วางแผนการตรวจสอบให้เหมาะสม สัมพันธ์กับจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานให้มีความเหมาะสม สื่อสารสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในให้หน่วยรับตรวจทราบ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีการประเมินคุณภาพงานตรวจสอบภายในแต่ละงานโดยหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน เพื่อให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และพัฒนาคุณภาพงาน ให้ได้ตามมาตรฐานที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังกำหนด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2561). หลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ มกราคม 24, 2565, จาก http://www.dlt.go.th/site/ia/m-download/9044/.
กรุงเทพมหานคร. (2564). อำนาจหน้าที่. ค้นเมื่อ มกราคม 14, 2565, จาก https://official.bangkok.go.th.
ธัชพล วังสุวรรณ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน). ค้นเมื่อ ธันวาคม 13, 2564,
จาก https://scholar.utcc.ac.th/bitstream/6626976254/4247/ 1/310749.pdf.
บุญญาดา นาสมบูรณ์ และคณะ. (2559). โครงการศึกษาพฤติกรรมและความตระหนักต่อการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 27, 2565,
จาก http://www.dlt.go.th/minisite/m_upload /m_files/ltsb/file_26b4c04dc12affd82c5c9c99ffe83429.pdf.
มณฑ์ชยธิดา พรมเยี่ยม. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของการยางแห่งประเทศไทย. ค้นเมื่อ ธันวาคม 12, 2564,
จาก https://searchlib.utcc.ac.th/library/onlinethesis/302389.pdf.
สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2565. ค้นเมื่อ มกราคม 14, 2565,
จาก https://drive.google.com/file/d/17Nkb7qcru42gOM23IJ CcS6dNwr362iO9/ view? usp=sharing.
สิภัทร์รดา ผิวขาว. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์.
ค้นเมื่อ ธันวาคม 12, 2564,จาก https://searchlib.utcc.ac.th/library/onlinethesis/264674.pdf.