การรับรู้ และความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจหลังใช้บริการโรงแรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ผ่านช่องทางสื่อสารภายในโรงแรม 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อกิจกรรม CSR โรงแรม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อกิจกรรม CSR โรงแรมหลังใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าพักโรงแรมเครือต่างประเทศระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Multiple Regression Analysis
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวมีการรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงแรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้รับเกี่ยวกับการนำเสนอกิจกรรม CSR ของโรงแรมผ่านสื่อ Social Media เช่น Facebook Instagram หรือ Twitter มีค่าเฉลี่ยสูงที่สูด และนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของโรงแรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับโรงแรมนำอาหารที่ทานไม่หมดไปแปลสภาพส่งต่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ย อาหารสัตว์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สูด รวมทั้งนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม CSR ของโรงแรมหลังใช้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจกับการบริการของโรงแรมที่เลือกเข้าพักมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กิจกรรมของโรงแรมในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การอาสาช่วยเหลือชุมชน และการดูแลสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการท่องเที่ยว. (2563). ปัจจัยสำคัญของการจัดทำมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวโรงแรม/รีสอร์ท. ค้นเมื่อ ธันวาคม 10, 2563, จาก
http://www.thaihotels.org/16679475/hotel-standard.
ชุติมา วุ่นเจริญ. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมกับธุรกิจโรงแรม. วารสารวิทยาการจัดการ, 30(1), 143-158.
ณพัชร ประพันธ์พจน์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม กิจกรรมความรับผิดชอบ ต่อสังคม การรับรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานบริษัทยูนิลีเวอร์ ไทยโฮลดิ้ง จำกัด.
Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 1224–1241.
บุญญาพร ดวงสา, วีระกิตติ์ เสาร่ม และกชธมน วงศ์คำ. (2562). รูปแบบการจัดการโรงแรมสีเขียวเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในประเทศไทย. วารสาร
การบริหารปกครอง, 8(1), 477-496.
พัทรียา หลักเพ็ชร. (2562). การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณฑกานติ ชุบชูวงศ์. (2560). ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น: ภาระผูกพันธ์ของโรงแรมประเภทรีสอร์ท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wilay & Sons.
International Organization for Standardization. (2020). ISO 2600 SOCIAL RESPONSIBILITY. ค้นเมื่อ มีนาคม, 20, 2563, จาก
https://www.iso.org/iso-26000-social-responsibility.html.
Kotler, P., & Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility. Published by John Wiley & Sons, Inc., Hoboken, New Jersey.
Miller, G., Rathouse, K., Scarles, C., Holmes, K., & Tribe, J. (2010). Public understanding of sustainable tourism. Annals of Tourism
Research, 37(3), 627-645.
Wang, F., Peng, X., Wei, R., Qin, Y. & Zhu, X. (2019). Environmental behavior research in resources conservation and management: A case study of resources, conservation and recycling. Resources. Conservation & Recycling, 141(1), 431-440.