กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน STRATEGY FOR ACADEMIC ADMINISTRATION USING INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY OF SMALL PRIMARY SCHOOLS UNDER THE SUPERVISION OF THE OFFICE OF PRIMARY EDUCATION COMMISSION.

Main Article Content

รสสุคนธ์ มั่นคง
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย
นภาเดช บุญเชิดชู
โยธิน ศรีโสภา

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม มีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนากลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 754 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา 3)  วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามในการบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ข้อมูล SWOT และ TOWS Matrix การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  4) ร่างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การรับรองกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1) ตรวจสอบ ประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม  ความเป็นไปได้ของการนำไปใช้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม  ความเป็นไปได้ของการนำไปใช้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา 2) ศึกษาแนวทางการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติโดยการจัดประชุมเชิงนโยบาย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 15 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประเด็นการประชุมและร่างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ผลักดันให้มีแหล่งเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย 2) เสริมสร้างสมรรถนะการวัดผลและประเมินผลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) ขับเคลื่อนการนิเทศการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5) พลิกโฉมการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมี 12 กลยุทธ์รอง 41 วิธีดำเนินการ

  2. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ  กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนขนาดเล็ก


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมกริช ไชยทองศรี. (2561). การบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนต้นแบบ

ICT เพื่อการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน : พหุกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาราชภัฏสกลนคร.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562).

นโยบาย และแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561 – 2580). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2553). การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากล.

กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579).

กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนีย์ ชัยสุขสังข์. (2557). กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน

ในโรงเรียนเอกชนทางเลือก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทาง ทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 10).

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวภา นิสภโกมล. (2558). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาพลเมือง

คุณภาพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.