การเตรียมความพร้อมและการปรับตัวเพื่อการเกษียณอายุของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล THE PREPARATION FOR RETIREMENT OF THAI PRIVATE UNIVERSITY LECTURERS IN BANGKOK METROPOLITAN AND PERIPHERY

Main Article Content

ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และเพื่อเสนอแนวทางการเตรียมตัวเกษียณอายุสำหรับอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติพรรณนาที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอนุมานที่นำมาทดสอบสมมติฐานคือ สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุงานของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ในระดับมาก การสนับสนุนทางสังคม (ด้านจิตวิทยา) อยู่ในระดับปานกลาง ทัศนคติต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุ อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านเพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุ ในขณะที่ปัจจัยด้านอายุ สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน และความเพียงพอของรายได้ มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุ ปัจจัยด้านจิตวิทยา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยด้านทัศนคติต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุและการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุ ทัศนคติต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุ มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุ แนวทางการเตรียมตัวเกษียณอายุสำหรับอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้แก่ การสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับการติดต่อเพื่อช่วยเหลือกัน การวางแผนทางการเงินที่ดี ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ มหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ต้องเข้ามาช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิณณรัตน์ วราบุญนาคภิรมย์. (2558). การเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงานบริษัท ยูซ็นโลจิสติกส์

(ประเทศไทย). สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยดา วงศ์วิวัฒน์ และ ชาญเดช เจริญวิริยะกุล. (2562). การเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของบุคลากร

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 348 – 361.

ภราดา โชติกุล และ บัวทอง สว่างโสภากุล. (2564). ความเข้มแข็งทางใจ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการ

เตรียม พร้อมเพื่อเกษียณอายุ ของพนักงานสายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสาร

สมาคมนักวิจัย, 26(1), 195 – 210.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554. กรุงเทพมหานคร: พงษ์-พาณิชย์เจริญผล.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: เดือนตุลา.

วราภรณ์ กงจันทา และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความ

ผูกพันต่อองค์การของพนักงาน สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย

ราชภัฏกาญจนบุรี, 9(1), 84-97.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2564). บุคลากรอุดมศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 1 ในสถาบัน อุดมศึกษา

ทั้งหมด จำแนกตาม สถาบัน / กลุ่มสถาบัน / เพศ / ระดับการศึกษา / ประเภทบุคลากร (ข้าราชการ

พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ) / สายวิชาการ (อาจารย์ประจำ) และสายวิชาการ(อาจารย์

พิเศษ). ค้นเมื่อ มิถุนายน 15, 2564, จาก http://www.info.mua.go.th/info/.

อรนุช หงษาชาติ ชีพสุมน รังสยาธร และอภิชาติ ใจอารีย์. (2558). การทำงานหลังเกษียณอายุราชการของบุคลากร

สายวิชาการ สังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn

University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 2875 – 2891.

อุไร สุทธิแย้ม. (2562). เกษียณอย่างไรให้เกษม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(2) ,

-108.