ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ACADEMIC LEADERSHIP SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER CHACHOENGSAO PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต1 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและตำแหน่ง/วิทยฐานะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 168 คน จากการเปิดตารางของ Cohen และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α - Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) .989 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพื้นฐาน ใช้การทดสอบ t-test และวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance)
ผลการวิจัยพบว่า
- ครูมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
- ครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในโนโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต1 แตกต่างกัน
- ครูที่มีตำแหน่ง/วิทยฐานะที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต1 ไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤตกร น้ำทิพย์. (2560). ) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
กนกหงส์ ศาลารัตน์. (2558). ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
กรมวิชาการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). การจัดการการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น (มหาชน).
ทัศนา วรรณภา. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธัญชนก บุญทอง. (2560). ศึกษาเรื่องภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารรมยสารม, 15(2), 159-169.
พัชราภรณ์ จันทพล. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอองครักษ์สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ใหม่.
กรุงเทพ : เอส พี เอ็น การพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต1. (2563). ข้อมูลสารสนเทศ 2563. ฉะเชิงเทรา:
กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลและการสื่อสาร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน
กราฟฟิค.
ศราวุธ ทองอากาศ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการการศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยองและตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. (2564). บอร์ด กพฐ. เผยผลวิจัยพบ ผอ.โรงเรียนยังขาดความเป็นผู้นำทางวิชาการอย่าง
ชัดเจน. ค้นเมื่อ เมษายน 1, 2564, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/93569.
Best. J.W. and Kahn J.V. (1993). Research In Edution.(7 th ed.). Boston, M.a : Allyn And Bacon.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th Ed.). NewYork:
Routledge.
Glickman, C. D. (2007). Super vision and instructional leadership: A developmental approach.
Boston: Pearson.
Likert, Rensis. (1967). The method of constructing and attitude scale. In reading in fishbeic,
M.Ed.. attitude theory and measurement. New York : Wiley & Son.
Murphy, K.J. & Kevin, O. (1999). Handbook of labor economics. Amsterdam : North-holland
Constructivist Perspeetive.