ความตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งาน ทัศนคติต่อการใช้งานและความตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อทัศนคติต่อการใช้งาน ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการใช้งานที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี ประชากร คือ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 94 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยี ทัศนคติต่อการใช้งาน และพฤติกรรมความตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพนักงาน อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การยอมรับเทคโนโลยี ได้แก่ ด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ส่งผลต่อทัศนคติในการใช้งานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี มีอำนาจการทำนายร้อยละ 22.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และทัศนคติต่อการใช้งาน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมส่งผลต่อความตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสุพรรณบุรี มีอำนาจการทำนาย ร้อยละ 34.00 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
Article Details
References
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2562). การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสุพรรณบุรี. ค้นเมื่อ กุมภาพันธุ์ 15, 2563,
จาก https://www.pea.co.th/c3/spi.
ชาญชัย อรรคผาติ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติในการยอมรับในเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อประยุกต์ใช้ในการให้บริการ
ระบบบัญชีออนไลน์ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมุมมองของผู้ทำบัญชี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต
คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ณัฐพัชร์ อภิรุ่งเรืองสกุล และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้งานพิสูจน์ตัวตนทางชีวมิติ บนโมบาย
แอปพลิเคชันเทคโนโลยีพิสูจน์ตัวตนทางชีวมิติ. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(5), 344-359.
ปัญญ์จทรัพย์ ปัญญาไวและรวิพรรณ สุภาวรรณ์. (2559). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี และประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าที่ส่งผลต่อ
ทัศนคติในการใช้บริการ Pre-order เครื่องสำอางผ่านทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรม
และการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(1), 32-39.
พิทักษ์พงษ์ คมพุดซา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 7(2), 270-282.
ลัดดาวัลย์ สำราญ. (2562). การวิจัยธุรกิจ. ค้นเมื่อ 21 เมษายน, 2563, จาก https://sites.google.com /site/
laddawansomeran/home.
วนิดา ตะนุรักษ์, นรพล จินันท์เดช, และประยงค์ มีใจซื่อ. (2560). อิทธิพลของทัศนคติต่อการใช้งานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรม
ความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีของพนักงานอุตสาหกรรมการค้าส่งและค้าปลีกไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 41-53.
วริษฐา สุริยไพฑูรย์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้ความมีประโยชน์และความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อ
สินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านระบบพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อภิญญา อิงอาจ. (2561). ปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้ระบบคิวอาร์โค้ดมาตรฐานของผู้ใช้บริการในพื้นที่เมือง ทองธานี.
วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 15(2), 111-130.
อาภา เอกวานิช และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม.
วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 32(1), 125-140.