แรงจูงใจในการเรียนภาษาเยอรมันของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ชุลีวรรณ ปราณีธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเรียนภาษาเยอรมันของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยแรงจูงใจจากภายในกับปัจจัยแรงจูงใจจากภายนอกของนักศึกษา กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาจำนวน 54 คน ที่ลงทะเบียนวิชาภาษาเยอรมันในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือหลักในการวิจัยเชิงปริมาณนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการเลือกเรียนวิชาภาษาเยอรมันของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก แรงจูงใจจากภายในมีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจจากภายนอก นักศึกษาเชื่อว่าภาษาเยอรมันเป็นหนึ่งในภาษาต่างประเทศที่สำคัญที่สุด หากแต่การเรียนภาษาเยอรมันและการบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาเยอรมันนั้นเป็นเรื่องยาก อาจารย์ผู้สอนควรการจัดการเรียนรู้ภาษาเยอรมันแบบบูรณาการในห้องเรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย และเน้นให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักศึกษาเกิดแรงจูงใจในการเรียนภาษาและช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วม การฝึกปฏิบัติการกล้าแสดงออก เกิดการคิดวิเคราะห์ และเพิ่มพูนทักษะทางภาษาของนักศึกษาได้ด้วยเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณภัทร วุฒิวงศา. (2557). กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจ: การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ. วารสารนักบริหาร, 34(1), 89-97.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2552). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม:

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิพย์ธิดา สกุลทองอร่าม, อมรรัตน์ ค้าทวี และวรรณวิศา ใบทอง. (2561). แรงจูงใจในการเรียนภาษาเกาหลี:

กรณีศึกษาของนักศึกษาวิชาเอกภาษาเกาหลี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. รายงานการประชุมวิชาการ

และนำเสนแผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2, 1559-1612.

ปริลักษณ์ กลิ่นช้าง และ สุภาภรณ์ สุวรรณโอภาส. (2559). แรงจูงใจและกลวิธีการเรียนรู้ภาษาเยอรมันของนักเรียน

มัธยมศึกษาตอนปลายในภาคใต้ของไทย. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 35-70.

ยุพกา ฟูกุชิม่า, กนกพร นุ่มทอง และ สร้อยสุดา ณ ระนอง. (2556). ความนิยมในการเรียนภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน

ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: แรงจูงใจแตกต่างกันอย่างไร. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 30(1), 27-40.

ศุภิกา นิรัติศัย. (2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

ภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 138–170.

สุกัลยา แฉล้ม และ อัญชลี โตพึ่งพงศ์. (2562). แรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เรียน

ภาษาเยอรมัน. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 8(1), 71–94.

Anderson, R. (2018). Second Language Learning Motivation. Culminating Projects in Teacher

Development. 30. https://repository.stcloudstate.edu/ed_etds/30.

Eltoft, A. S. (2018). Motivation in Language Learning. A Qualitative Study of Teachers’ Views

on the Importance of Including Pupils’ Interests and Real-life Context in the

Teaching of English. Master’s thesis. Faculty of Humanities, Social Science and

Education. The Arctic University of Norway.

Tajima, K. (2014). Comparison of Factors Influencing Thai Students’ Choices of a Minor Subject

between Japanese and Chinese. Panyapiwat Journal, 5(Special Issue May 2014), 1-12.