ประสบการณ์การท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประเภทบ่อน้ำพุร้อน ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสบการณ์การท่องเที่ยวบ่อน้ำพุร้อน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ของนักท่องเที่ยวชาวไทย 2) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อบ่อน้ำพุร้อน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และ 3) อิทธิพลของประสบการณ์การมาท่องเที่ยวบ่อน้ำพุร้อนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยมาท่องเที่ยวบ่อน้ำพุร้อนในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวน 400 คน โดยการแจกแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ANOVA และ Multiple Regression Analysis
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีประสบการณ์ในการท่องเที่ยวบ่อน้ำพุร้อน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ด้านการได้พักผ่อนเมื่อมาท่องเที่ยว/ใช้บริการบ่อน้ำพุร้อนมากที่สุด และมีความพึงพอใจกับการท่องเที่ยวบ่อน้ำพุร้อนด้านสนุกและผ่อนคลายกับการมาเที่ยวบ่อน้ำพุร้อนมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ การศึกษาสูงสุด อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ไม่ส่งผลต่อประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ในขณะที่สถานภาพการสมรสแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และประสบการณ์ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกและประโยชน์ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย
Article Details
References
กนกเกล้า แกล้วกล้า, วารัชต์ มัธยมบุรุษ, ละเอียด ศิลาน้อย และสันติธร ภูริภักดี(2560). ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผล
ต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนครชัยบุรินทร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(1), 23-39.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 10, 2562,
จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411.
เกศวลีณ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และณารีญา วีระกิจ. (2562). การประเมินความพร้อมของแหล่งน้ำพุร้อน
อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ สู่การพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อน.
Veridian E-Journal Silpakorn University, 12(3), 1031-1051.
ชลดรงค์ ทองสง และอำนาจ รักษาพล. (2552). โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำร้อน
ถ้ำเขาพลู. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานประจำปีธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2562. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 10,
, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/Report/AnnualReport
/Pages/AnnualReport2019.aspx.
ธันยา พรหมบุรมย์ และนฤมล กิมภากรณ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
วัฒนธรรมและสุขภาพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ของประเทศไทย : เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
แม่ฮ่องสอน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 71-87.
สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี. (2562). รายงานประจำปี 2562. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 22, 2562,
จาก https://ww2.kanchanaburi.go.th/frontpage.
วิคิเนีย มายอร์. (2555). แรงจูงใจการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมา
ท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนรักษะวารินและบ่อน้ำร้อนพรรั้ง จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี. (2563). จำนวนนักท่องเที่ยว/รายได้จากการท่องเที่ยว.
ค้นเมื่อ ธันวาคม 8, 2562, จาก https://kanchanaburi.mots.go.th/more_graph.php
อริศรา ห้องทรัพย์ และกุลพิชญ์ โภไคยอุดม. (2558). แนวทางพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแหล่งน้ำพุร้อน
ในภูมิภาคทางตอนเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 16(3), 76-90.