การพัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางลี่วิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เรื่องแนวคิดเชิงคำนวณ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เรื่องแนวคิดเชิงคำนวณ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางลี่วิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ dependent
ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียน 3 หน่วยการเรียน มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.64, S.D. = 0.47) ด้านการออกแบบบทเรียนอยู่ในระดับดีมาก (
= 4.75, S.D. = 0.30) และมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 89.56/84.59 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนเอ็มเลิร์นนิง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.78, S.D. = 0.46)
Article Details
References
ธงชัย แก้วกิริยา. (2553). “E-Learning ก้าวไปสู่ M-Learning ในยุคสังคมของการสื่อสารไร้พรมแดน Moving
from e-Learning to M-Learning in the society Seamless communication”.
วารสารร่มพฤกษ์, 28 (1), 111-136.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1(พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พงศ์นลธนัช แซ่จู .(2561). บทวิจารณ์หนังสือเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 : หนังสือรายวิชา
พื้นฐานวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41 (4), 117-119.
ภัทรพล ตันตระกูล. (2561). ผลการเรียนด้วยบทเรียนเอ็มเลิร์นนิง(M-learning)บนอุปกรณ์พกพา
เรื่อง สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพสำหรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1
มหาวิทยาลัยมหิดล. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ระดับปริญญามหาบัณฑิต
ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มัณฑรา ธรรมบุศบุศย์. (2549, มกราคม). การส่งเสริมกระบวนการคิด โดยใช้ยุทธศาตร์ PBL. วิทยาจารย์, 105 (3),
-45.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สาหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.
กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วัฒนา พลาชัย และ วินัย เพ็งภิญโญ. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ Mobile Learning โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ในรายวิชาการเขียนเว็บไซต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีประจันต์ “เมธีประมุข”. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10 (1), 186-200.
วงษ์ปัญญา นวนแก้ว, ชเนตตี พิมพ์สวรรค์ และจรัญ เจิมแหล่. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้
โดยเอ็มเลิร์นนิง วิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 ด้วยโปรแกรมประยุกต์ลักษณะฟอร์ม.
วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(2), 16-23.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.
สรินทรา มินทะขัติ. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)
เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการให้เหตุผล
ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สาโรช โศภีรักข์. (2558). M – Learning. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 3 (2), 32-42.